การจัดการเศษกระเบื้องหลังคาคอนกรีตด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน กรณีศึกษา บริษัท เอสซีจี รูฟฟิ่ง จำกัด โรงงานสระบุรี
Management of Concrete Roof Scrap by Circular Economy: A Case Study of SCG Roofing Co., Ltd, Saraburi Plant.
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และประเมินผลการดำเนินการจัดการเศษกระเบื้องหลังคาคอนกรีตตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมทั้งเสนอแนวทางในการจัดการเศษกระเบื้องหลังคาคอนกรีตตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดให้กับบริษัท เอสซีจี รูฟฟิ่ง จำกัด จากการศึกษา พบว่า บริษัท เอสซีจี รูฟฟิ่ง จำกัด มีการจัดการเศษกระเบื้องหลังคาคอนกรีตด้วยการบดย่อยขนาดให้มีคุณสมบัติในการใช้ทดแทนทราย และนำกลับมาใช้ผสมเป็นวัตถุดิบ ทำให้สามารถลดการใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติได้ และสามารถจัดเศษกระเบื้องหลังคาคอนกรีตของโรงงานได้อย่างเพียงพอ และสามารถส่งขายให้กับบริษัทอื่น ๆ เป็นรายได้ให้กับองค์กร นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนรูปแบบการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการขายสินค้าและบริการ ซึ่งทำให้เกิดของเสียที่หน้างานลูกค้าลดลงได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อทำการประเมินการจัดการเศษกระเบื้องหลังคาคอนกรีตตามแนวทางการพัฒนาธุรกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้ง 5 มิติ ได้แก่ วัตถุดิบทดแทน การฟื้นคืนทรัพยากร การยืดอายุผลิตภัณฑ์ ให้ยาวนานมากขึ้น ช่องทางในการแบ่งปัน และเปลี่ยนการขายสินค้าเป็นการขายบริการ พบว่า มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับดี แต่ยังไม่สามารถดำเนินการตามทั้ง 5 มิติได้ครบถ้วนสมบูรณ์
The objectives of this research were to study the concrete roof scrap management, evaluate the results of the management of concrete roof scraps according to the circular economy business model, and provide suggestions for concrete roof scraps management according to the concept of circular economy business model that was suitable and maximizes benefits to SCG Roofing Co., Ltd, Saraburi Plant. From the study found that SCG Roofing Co., Ltd, Saraburi Plant managed the concrete roof scrap by crushing them to be qualified as a substitute for sand and reused as raw materials that could reduced natural resources used and could sold to customers. There were changed to sell product as a service. This could reduced waste at the site as well. However the result of management assessing of concrete roof scrap according to circular economy business model based on the 5 dimensions such as renewable raw materials, resource recovery, product life extension and sharing platforms. It was found that the performance was a good level, but still unable to complete in all 5 dimensions.