ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานในการใช้กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด
FACTORS AFFECTING THE SUCCESS OF CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY (CSR) ACTIVITIES OPERATION OF IRPC PUBLIC LIMITED COMPANY
การวิจัยของการค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการดำเนินงานในการใช้กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการการดำเนินงานในการใช้กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานในการใช้กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ให้กับบริษัทหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interviews) โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Information) จำนวนรวม 13 ท่าน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแลง ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมตำบลเชิงเนิน ผู้นำชุมชนบ้านแลง ผู้นำชุมชนเชิงเนิน ประชาชนในชุมชนบ้านแลง และประชาชนในชุมชนเชิงเนิน ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participation) พร้อมด้วยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยนี้ได้นำทฤษฎีระบบการบริหารงานและประเมินผลองค์กร (Balanced Scorecard) มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยหลักการ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) ด้านการเรียนรู้และพัฒนาหน่วยงาน และ 4) ด้านประสิทธิผล ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านประสิทธิผล พบว่าบริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยการสนันสนุนด้วยงบประมาณ เพื่อเติมเต็มส่วนที่ทางภาครัฐไม่สามารถสนับสนุนได้ 2) ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่าชุมชนมีทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่พึงพอใจและไม่พึงพอใจในการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท เนื่องจากบริษัทสามารถแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการในชุมชนได้ดีกว่าในอดีตที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ที่เกิดขึ้นได้ครบถ้วนเพราะการสื่อสารข้อมูลมีการคลาดเคลื่อนและล่าช้า 3) ด้านการบริหารจัดการ พบว่าบริษัทมีแผนงานเป็นต้นแบบในการดำเนินงานอย่างชัดเจนทั้งภายในและภายนอกบริษัท มีการร่วมมือกับชุมชนผ่านผู้นำและภาครัฐในการดำเนินงาน ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) พูดคุยในเวทีพหุภาคีเพื่อนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแก้ไขปัญหาในอนาคตต่อไป 4) ด้านการเรียนรู้และพัฒนา พบว่าบริษัทมีการพัฒนาความรู้ทั้งภายในบริษัทโดยอบรมให้ความรู้กับพนักงานในหน่วยงานและภายนอกบริษัทโดยจัดการอบรมให้ความรู้ จัดกิจกรรมพัฒนาอาชีพและเศรษฐกิจชุมชน ชาวบ้านมีทั้งที่มีการเข้าร่วมกิจกรรมและไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมเพราะปัจจัยด้านเวลาและระยะทางที่ไม่เอื้ออำนวย ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานในการใช้กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ได้แก่ ปัจจัยด้านการสื่อสาร การดำเนินงานระหว่างบริษัทกับชุมชนนั้นต้องใช้การสื่อสารผ่านผู้นำชุมชนและนำข้อมูลข่าวสารไปกระจายต่อในชุมชน รวมถึงการร่วมมือจากทางภาครัฐ ระยะเวลาและความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดความเข้าใจและไว้วางใจจากประชาชนและหน่วยงานภาครัฐในการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) โดยข้อเสนอแนะจากงานวิจัยในครั้งนี้คือ ควรมีการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ชัดเจน และรวดเร็ว แก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อลดความกังวลใจของคนในชุมชนและสร้างความไว้วางใจของคนในชุมชนและภาครัฐกับบริษัท พูดคุยและรับฟังข้อเสนอแนะจากภาครัฐมากขึ้น สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจากการดำเนินงานของบริษัทในพื้นที่ชุมชน เพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
The objectives of this independent study research were 1) to study the factors affecting the success of operation in using corporate social responsibility (CSR) activities of IRPC Public Company Limited 2) to study problems and operational obstacles in the use of IRPC's CSR activities and 3) to provide operational guidance for the use of CSR activities for other companies or agencies that are interested. This research is a qualitative research, which data was collected through semi-structured interview with 13 key informants, consisting of officers of IRPC Public Company Limited, management organization staff, Ban Laeng Subdistrict, Director of the Social Welfare Division Choeng Noen, Ban Laeng Community Leader, Hilltribe community leaders, locals in the Ban Laeng community and people in the hillside community. The aforementioned data collection was conducted in conjunction with non-participatory observations, alongside with reviews of related documents. This research applied the theory of management system and the Balanced Scorecard to analyze the factors affecting the success of CSR in four areas: 1) management, 2) stakeholders, 3) learning and growth, and 4) effectiveness. The results of the study were as follows: 1) Effectiveness, it was found that the company is able meet the needs of the community well by supporting the budget to fill the gap that the government cannot support. 2) Stakeholders, it has emerged that the community had stakeholders who were both satisfied and dissatisfied in the CSR operation of the company. This was because although the company can solve problems and meet the needs of the community better than when compared to the past, but they still cannot solve the issues that has occurred comprehensively due to the inaccuracy and delay in communication of information. 3) Management, it can be seen that the company had clearly defined plans for its operations internally. There is also collaboration outside the company with communities through leaders and the government in conducting, monitoring and evaluating CSR discussions in multilateral forums to provide suggestions for improvement in future problems. 4) Learning and growth, it was revealed that the company has developed knowledge both within the company to educate employees in departments and outside the company by organizing activities and trainings to provide knowledge, as well as arranging professional and community economic development projects. The villagers were both active and absent in the activities, due to time factors and unfavorable distance. From the study, it was found that the factors affecting the success of the operation in the use of CSR activities include communication, operations between the company and the community that requires communication through community leaders and distributing information to the community, as well as the collaboration from the government. The timing and accuracy of the information received are therefore important factors in establishing understanding and gaining trust from people and government agencies in the implementation of CSR. In terms of the recommendations for this research, the CSR activities should be conducted through an accurate portrayal, clear and prompt information and provide urgent solutions to problems. This is to reduce the concern of the people in the community and build the confidence of the people in the community with the government and the company. The governmental parties should further their communication and listen to external suggestions. They should also build knowledge and understanding about self-defense and assist others in the emergency event from the company's operations within the community area, in order to coexist in a sustainable manner.