Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
การประเมินผลกระทบทางสังคมจากโครงการพัฒนาท่าเรือ กรณีศึกษา: โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3
Title
Social Impact Assessment of Port Development Project A Case Study of Laem Chabang Port Phase III
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางสังคมและการมีส่วนร่วมของประชาชนจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และเพื่อหาแนวทางและมาตรการลดผลกระทบที่เกิดจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participatory Observation) กับผู้มีส่วนได้เสีย ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนโดยรอบโครงการ ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) กับกลุ่มเจ้าของโครงการและหน่วยงานราชการ และใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบบอกต่อ (Snowball Selection) กับกลุ่มผู้นำชุมชนและประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 20 ท่าน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) ร่วมกับการวิเคราะห์แบบสามเส้า (Triangulation) เพื่อสรุปเนื้อหา ความคิดเห็นและข้อมูลที่ค้นพบ แล้วนำเสนอตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบสัมภาษณ์แต่ละหัวข้อ ให้สอดคล้องกับกรอบแนวคิดและวัตถุประสงค์ของการศึกษาทั้ง 2 ข้อของการศึกษา ได้แก่ เพื่อประเมินผลกระทบทางสังคมและการมีส่วนร่วมของประชาชนจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 โดยมีประเด็นหลัก คือ การเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจ และผลกระทบทางสังคมจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และเพื่อหาแนวทางและมาตรการลดผลกระทบที่เกิดจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ผลการศึกษาพบว่า ท่าเรือแหลมฉบังมีการดำเนินการและปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งโครงการมีการจัดทำกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) มีกระบวนการการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ การสารเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและรับรู้ความต้องการของประชาชน แต่การรับฟังความเห็นของประชาชนยังไม่ทั่วถึงและไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ประชาชนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพ รวมทั้งการชดเชย เยียวยาจากโครงการตามความเหมาะสม ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ ท่าเรือแหลมฉบังควรสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ชุมชนให้มากขึ้น นำข้อเสนอแนะจากการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการพิจารณาการดำเนินโครงการ และกำหนดกระบวนการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการโครงการอย่างชัดเจน เพื่อให้โครงการอยู่ร่วมกับชุมชนได้โดยปราศจากความขัดแย้ง และเพื่อประโยชน์สูงสุดในการดำเนินโครงการต่อไป
Abstract
The main objectives of this research were: to study social impact assessment of Laem Chabang Port Phase III including success factors; and determine a means to recommend for reducing social impacts under community participation. This research is a qualitative research. Data were collected by Semi-structured Interviews with stakeholders, in conjunction with the study of relevant documents such as basic information of social and economic surrounding the project. In this study use Purposive Selection method for project owners and government agencies and Snowball Selection method for community leaders and people considering. The number of samples was 20. Descriptive Analysis and Triangulation was applied. The majority indicator of this research consists of 3 parts including access to information, access to public participation for decision making and social Impacts of Laem Chabang Port Phase III. The result found this project is implemented and complies with the laws. The project has studied an Environmental Health Impact Assessment (EHIA). They published all necessary information to the community through different medias including public hearing. However, the public hearing was claimed that it not available to all stakeholder. People are concerned about changing their way of life and career, including appropriate compensation from the project. For recommendation, the project should develop process for increasing the public knowledge and communicate to all parties for the good cooperation. The owner should take the suggestions from the public hearing process to us as an input for people considering the project implementation. Finally, the compensation process should be appropriate for all affected by the project.