การประยุกต์ใช้ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) ในห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด สาขาระยอง
Application of the environmental management standard system (ISO 14001) for Environmental Laboratory, SGS (Thailand) Company Limited, Rayong Branch
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์การพัฒนาเข้าสู่ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) โดยเทคนิคการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมของห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมของบริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด สาขาระยอง ซึ่งจะสามารถนำมาใช้ในบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องของบริษัท ทฤษฎีและการศึกษาที่เกี่ยวข้องจากตำรา หนังสือ วารสารและเอกสารอื่นๆจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวคิดและข้อมูลเพื่อพัฒนาเป็นกรอบการวิจัย วิธีการวิจัย รวมถึงเครื่องมือในการศึกษาอีกด้วย วิธีการศึกษาประกอบด้วย การวิเคราะห์ช่องว่างของกระบวนการดำเนินการของห้องปฏิบัติการในปัจจุบัน โดยใช้ข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO 14001 จากนั้นจึงสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) เพื่อยืนยันผลและเพิ่มเติมรายละเอียดจากการวิเคราะห์ช่องว่างก่อนหน้านี้ ผู้ให้ข้อมูลหลักรวม 6 คน จากผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องในห้องปฏิบัติการ ซึ่งการศึกษานี้เป็นการประเมินเบื้องต้นเพื่อจะนำผลไปขยายต่อไปในการเข้าสู่มาตรฐานของบริษัทต่อไป ผลการศึกษาพบว่าทางห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมของ บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด สาขาระยอง ยังไม่เคยนำระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการ ซึ่งจากการวิเคราะห์ช่องว่างของการดำเนินการพบว่า ห้องปฏิบัติการมีความพร้อมในการเข้าสู่ระบบมาตรฐานดังกล่าว โดยผู้บริหารมีความมุ่งมั่นและพร้อมผลักดันการดำเนินการอย่างเต็มที่ ในด้านของปัญหาและอุปสรรคจากการศึกษาพบว่า พนักงานยังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังขาดผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร จึงต้องมีการให้ความรู้ ฝึกอบรมแก่พนักงานที่เกี่ยวข้องในบริษัทต่อไป สำหรับแนวทางและข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ 1) ควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน 2) ควรจัดหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับผิดชอบระบบมาตรฐาน 3) ควรส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมขององค์กรในด้านความตระหนักทางสิ่งแวดล้อม และ 4) ควรจัดทำคู่มือเอกสารให้ครบตามข้อกำหนดของมาตรฐาน
This study was a qualitative research aiming to study readiness of environmental laboratory of SGS (Thailand) Company Limited, Rayong Branch to Environmental Management System Standard (ISO 14001) by Gap Analysis and to recommend the improvement for the laboratory. This study collected data from relevant documents of the company, relevant theories, principles and studies from textbooks, books, journals and other documents from various sources in order to get concepts and data to develop into a research framework, research methods, including educational tools. Gap analysis had completed to analyze present laboratory process using requirements in accordance with ISO 14001. The semi-structured Interview was done subsequently to confirm the results and add details from previous gap analysis. The main informants were 6 people from stakeholders involved in the laboratory. This study was a preliminary assessment to be extended for ISO 14001 accredit of the company in the future. The results showed that the SGS (Thailand) Company Limited's Environmental Laboratory, had never applied the environmental management standard system in their operations. From the gap analysis of the operation, it was found that the laboratory was ready to enter the system standards in which the executives are committed and ready to drive the operation fully. In terms of problems and obstacles, the study found that employees still lacked of knowledge and understanding about the environmental management standard system. In addition, there was no experts in analyzing environmental problems both inside and outside the organization. Therefore, the company required knowledge transfer and training for further work related tasks in the company. Recommendations of this study included 1) training for knowledge should be provided to employees 2) providing experts to be responsible for the standard system 3) the promotion of the culture of organizations in the field of environmental awareness, and 4) the handbook/manual should be produced to meet the requirements of the standard.