Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
การประเมินศักยภาพพื้นที่สีเขียวสาธารณะในเขต เทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง
Title
Assessing the Potential of Green Public Spaces In Rayong District Area, Rayong Province
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าเฉลี่ย สัดส่วน ตามดัชชีวัดเมืองสีเขียวพื้นที่สีเขียวของเทศบาลนครระยองและหาความพึงพอใจและความต้องการใช้พื้นที่สีเขียวของเทศบาลนครระยอง รวมถึงข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพื้นที่สีเขียวที่เหมาะสมกับเทศบาลนครระยอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 3 กลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น หน่วยงานรัฐคือผู้วางนโยบาย และหน่วยงานรัฐระดับนักวิชาการและประชาชนคือผู้ใช้งานในพื้นที่จริง โดยวิธีใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือและการประยุกต์ใช้โปรแกรมในการประเมินหาพื้นที่ที่มีศักยภาพพื้นที่สีเขียวสาธารณะในเขตเทศบาลนครระยอง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาทั้ง3 กลุ่ม มีความรู้ความเข้าใจในการใช้พื้นที่สีเขียวดีอีกทั้งยังมีในด้านความพึงพอใจมีค่าคะแนนที่อยู่ระดับค่อนข้างดีและพอใช้ โดยกลุ่มผู้วางนโยบาย และกลุ่มนักวิชาการ ให้ค่าความพึงพอใจต่อพื้นที่ศึกษาเฉลี่ยที่ 7 - 8 คะแนน ในเกณฑ์ดี และกลุ่มผู้ใช้งานจริงให้ค่าความพึงพอใจต่อพื้นที่ศึกษาเฉลี่ยที่ 5 - 6 คะแนน ในเกณฑ์พอใช้ พร้อมทั้งมีผลการแสดงความคิดเห็นและความต้องการของพื้นที่ที่ไปในทิศทางเดียวกันอยู่ 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นความต้องการพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นในทั่วเขตพื้นที่เทศบาลนครระยอง ประเด็นพื้นที่สีเขียวสาธารณะของพื้นที่ศึกษามีการเกาะกลุ่มและขาดความปลอดภัยในการใช้งาน และประเด็นการจัดการในส่วนภูมิทัศน์พื้นที่สีเขียวในเขตเทศบาลนครระยอง การประเมินศักยภาพพื้นที่สีเขียวสาธารณะในเขตเทศบาลนครระยองนั้น การศึกษาครั้งนี้ได้ประเมินจากระยะใกล้ไกลจากทางเท้า ร่วมกับปัจจัยด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปัจจัยด้านกรรมสิทธ์ที่ดิน และปัจจัยด้านศักยภาพในการเข้าถึง พบพื้นที่ที่มีศักยภาพจะพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวสาธารณะทางตอนใต้ของพื้นที่ศึกษา คือ พื้นที่สาธารณะประโยชน์เลียบชายทะเลหาดแหลมเจริญ – หาดแหลมรุ่งเรืองและพื้นที่บริเวณตอนเหนือของพื้นที่ศึกษาเป็นแปลงที่ดินย่อยของกรมทางหลวง และพื้นที่รกร้างบริเวณบ่อบัดน้้าเสียเก่า และอาคารเก็บขยะเก่าของเทศบาลนครระยอง
Abstract
The purpose of this study was to study the average proportion according to the Green City Index of Rayong Municipality, Rayong province and to analyze satisfaction and demand of green area in Rayong Municipality. The study also proposed the measures to develop appropriate green area for study area. The study was qualitative and survey research. Structured interview was applied with 3 groups of people which were 1) related officials 2) academic staffs and researcher and 3) green area users together with Geographic Information System (GIS) application to assess the present satisfaction and to study the potential green area to be. The results of the study showed that all sample groups had good knowledge and understanding of the use of green space. Also, in terms of satisfaction, the scores were quite good and fair, scoring 7 – 8 (good level) for the first and second group and 5 – 6 (moderate level) for the last group. There were three coincident opinion from these three groups, namely the demand of green area in Rayong municipality, public green area in Rayong municipality was clustered and unsecured, the mismanagement of green area. To evaluate potential green area, applied factors included landuse, land ownership, accessibility to green area. It is found that public area in the south of Rayong municipality had high potential which are area along the Lamchareon – Lamrureung beach, empty land near the land of highway department and empty land near wastewater treatment plant/bric-a-brac collector building of Rayong municipality.