ความยั่งยืนของการอยู่ร่วมกันของพหุภาคีพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรม บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
The sustainability of coexistence of the multilateral parties in the IRPC Industrial Zone
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษานโยบาย มาตรการ โครงการ และกิจกรรมการพัฒนา ประเมินประสิทธิผล พร้อมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนาเพื่อการอยู่ร่วมกันผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีของเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี ซึ่งวิธีการศึกษาใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก กับคณะกรรมการพหุพาคีเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี จำนวน 2 คณะ คือ คณะกรรมการพัฒนาศักยภาพโครงการและพัฒนาชุมชนและสังคมเขตประกอบการอุตสาหกรรมบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) อำเภอเมือง จังหวัดระยอง (คพอ.) และคณะกรรมการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EIA/EHIA Monitoring Committee) โดยมี ภาครัฐ ภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ประกอบการ จำนวน 29 คน (จำนวนที่สัมภาษณ์) สรุปประเด็นเพื่อประเมินประสิทธิผลโดยใช้ CIPP-I Model นำผลการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์และพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ประกอบการอุตสาหกรรม มีนโยบายส่งเสริมการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะสนับสนุนความยั่งยืนของการอยู่ร่วมกันของพหุภาคีพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี การประเมินประสิทธิผลของการพัฒนา โดยใช้การวิเคราะห์ CIPP-I Model ซึ่งในแต่ละมิติอยู่ในระดับสูง โดยภาพรวมมีคะแนนอยู่ในระดับ 2.97 (คะแนนเต็ม 3) คะแนนบริบทภายนอก (Context) อยู่ที่ 3 คะแนน คะแนนปัจจัยเบื้องต้น (Input) อยู่ที่ 2.95 คะแนน คะแนนการประเมินกระบวนการ (Process) อยู่ที่ 2.89 คะแนน คะแนนการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) อยู่ที่ 2.94 คะแนน และคะแนนการประเมินผลกระทบ (Impact) อยู่ที่ 2.92 คะแนน ดังนั้นแนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของการอยู่ร่วมกันแบบพหุภาคี โดยควรมีการกำหนดนโยบายเฉพาะการดำเนินงานของพหุภาคีเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี และพัฒนาเพิ่มศักยภาพของคณะกรรมการพหุภาคีเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการมีส่วนร่วม และความรู้ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ พิจารณาปรับปรุงรูปแบบการศึกษาดูงานให้สามารถเกิดประโยชน์สูงสุดในการนำกลับมาใช้ประโยชน์จะทำให้เป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วน พร้อมทั้งนำผลการประเมินผลการดำเนินงานมาพิจารณาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ซึ่งหากเพิ่มช่องทางการสื่อสารและขยายกลุ่มเป้าหมายการสื่อสารให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการทบทวนการสื่อสารในกรณีเหตุฉุกเฉินในเขตประกอบการอุตสาหกรรมฯ ให้สามารถสื่อสารได้รวดเร็ว ถูกต้องและทั่วถึงจะเป็นประโยชน์และสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของพหุภาคีได้ดียิ่งขึ้น
The objectives of this study are to study policy, measures, projects and activities related to the sustainability of coexistence of the multilateral parties in the IRPC Industrial Zone, to evaluate the effectiveness of the coexistence sustainability and thus to address guidelines for supporting the coexistence sustainability. In-depth interviews to the IRPC Multilateral Industrial Zone Committees consisting of two sub-committees that are 1) The Committee for Project Potential Development and Community and Society Development, Industrial Zone, IRPC Public Company Limited, Mueang District, Rayong Province and 2) The Committee for EIA/EHIA Monitoring were carried out. The key informants include government, civil society, local administrative organizations, expert, and entrepreneur totaling of 29 people. Interview results were described, grouped and concluded according to the interview ‘s form. Then, the score of the effectiveness of the sustainability was calculated according to the results of the interviews and indicators from CIPP-I model. The results of this study indicate that local government organizations and industrial entrepreneurs have policies to promote participation in accordance with the sustainable development and the same direction to support the sustainable development of the multilateral cooperation of the IRPC industrial zone. The evaluation of the sustainability using CIPP-I Model analysis showed that all dimensions is at a high level and the overall score is 2.97 from 3 point while the context is 3 point, Input 2.95 point, Process 2.89 point, Product 2.94 point and Impact 2.92 point. Therefore, Multilateral sustainability guidelines should include 1) the development of the specific policy for the implementation of multilateral IRPC industrial zone, 2) an increase of the potential of the two committees by providing knowledge and understanding related to participation process, industries development and environment. 3) issues improvement of the process of the study trip to maximize benefits and to obtain new knowledge for all stakeholders. The evaluation of the sustainability should be carried out continuously for the improvement. In addition, communication channels must be expanded to all target groups to be more comprehensive including the communication review in case of emergencies to communicate quickly and accurately and as a result, the multilateral operations will obtain better confidence.