การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา โครงการอ่างเก็บน้ำคลองบ้านนา จังหวัดสระบุรี
Public Participation in Sustainable Water Resource Management:A Case Study of Khlong Ban Na Reservoir Project, Saraburi Province
ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรน้ำเป็นปัญหาที่ส่งผลตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันและสามารถก่อให้เกิดความขัดแย้งในชุมชนได้ ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนถือเป็นหลักสำคัญที่สามารถแก้ปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างยั่งยืน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรน้ำและเสนอแนะแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนของโครงการอ่างเก็บน้ำคลองบ้านนา จังหวัดสระบุรี งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interviews) กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรน้ำ กรณีศึกษา โครงการอ่างเก็บน้ำคลองบ้านนา ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโครงการอ่างเก็บน้ำที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้พัฒนาโครงการแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการเฉพาะผู้นำชุมชน ไม่ได้แจ้งข้อมูลให้แก่ประชาชนทั่วไปในวงกว้าง จึงทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ไม่ทั่วถึง รวมทั้งการดำเนินงานของโครงการเป็นแบบการสั่งการแบบบนลงล่าง (Top-down Approach) เพียงอย่างเดียว ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับโอกาสการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำที่เพียงพอ จึงทำให้ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการอยู่ในระดับที่ต่ำ สำหรับแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า ผู้พัฒนาโครงการต้องให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลที่มีความชัดเจน มีความโปร่งใส เพียงพอ ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมแสดงความคิดเห็นต่อโครงการ รวมทั้งภาครัฐควรปรับการเปลี่ยนแนวทางการบริหารจากการสั่งการเพียงอย่างเดียวเป็นการบริหารแบบล่างขึ้นบน (Bottom-up Approach) เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อโครงการ รวมถึงการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชน และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีระดับที่สูงขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน
The problem of water resource allocation has been increased from the past unitl the present and causing environmental conflict in the society. The public participation is considered as an important principle which lead to sustainable solving. the problem of water resource management. The objectives of this study were to study the public participation practice in water resource management and to propose guidelines for promoting public participation in sustainable water resource management of the Khlong Ban Na Reservoir Project, Saraburi Province. This study is a qualitative research. The literature review and semi-structured interviews with stakeholders were applied to collect data of this study. The result of study showed that most people in the affected area are provided with insufficient project information because the project developer provided information to community leaders only. As a results, must people were unable to access to the project information. In this study the administration of the authority was top-down style. Thus, most people were not provided of enough opportunities to participate in water resource management process. Therefore, the public participation was at low level. For the guidelines to promote public participation, it was found that the project developer should provide information that is clear, transparent and easy to access. The developer should give the opportunities to all stakeholders to share their opinions. The authority should change the administration style from top-down to bottom-up in order to realize the importance of public participation. Finally, The developer should provide information that is accurate and open to public, as well as promote higher levels of public participate that will lead to sustainable water resource management.