กลไกการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกาแฟไทยสู่ตลาดโลก จากตรารับรองคุณภาพ Fairtrade กรณีศึกษา : กาแฟดอยช้าง
Mechanisms to increase capabilities and compete for Thai coffee products in the international market. A Fairtrade certificate hallmark study of Doi Chaang coffee.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางในการได้มาซึ่งตรารับรองคุณภาพ Fairtrade ในผลิตภัณฑ์กาแฟของบริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินัล จำกัด เพื่อเสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างขีดความสามารถสำหรับผลิตภัณฑ์กาแฟไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกาของตรารับรองคุณภาพ Fairtrade ในผลิตภัณฑ์กาแฟของบริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินัล จำกัด รวมถึงการดำเนินการแก้ไขปัญหา เพื่อนำไปปรับใช้ในการขอตรารับรองคุณภาพ Fairtrade สำหรับธุรกิจกาแฟไทย ผู้วิจัยได้กําหนดระเบียบวิธีวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Information) จากบริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินัล จำกัด กรุงเทพมหานคร และโรงงานกาแฟดอยช้าง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย และการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 กระบวนการคือ การดำเนินการช่วงต้นน้ำ การดำเนินการช่วงกลางน้ำ และการดำเนินการช่วงปลายน้ำ ในการได้มาซึ่งตรารับรองคุณภาพ Fairtrade เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก ผลการศึกษาพบว่า ในขั้นตอนการดำเนินการช่วงต้นน้ำ กาแฟดอยช้างสามารถสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันได้จากการสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ นั่นคือ การที่กาแฟมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากกาแฟที่ปลูกในพื้นที่อื่นๆ และการมีเกษตรกรที่มีความเชี่ยวชาญและมีศักยภาพในการเพาะปลูกกาแฟ ช่วยให้กาแฟดอยช้างเป็นกาแฟที่มีคุณภาพ สำหรับขั้นตอนการดำเนินการช่วงกลางน้ำ ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน ทำให้สามารถลดต้นทุนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีต้นทุนที่สูงกว่าต้นทุนการผลิตที่ยั่งยืน และขั้นตอนการ ดำเนินการช่วงปลายน้ำ แสดงให้เห็นถึงคุณค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ ซึ่งมากกว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เกษตรกรผู้ผลิตกาแฟได้รับผลตอบแทนในการผลิตที่เป็นธรรม สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยบริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินัล จำกัด ที่มุ่งดำเนินการค้าอย่างเป็นธรรมและมีความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นกลไกที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับกาแฟดอยช้าง ในการนำผลิตภัณฑ์กาแฟแข่งขันในตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การขอตรารับรองคุณภาพ Fairtrade ถือเป็นเรื่องใหม่ในอุตสาหกรรมกาแฟ รวมถึงการรับรู้จากกลุ่มผู้บริโภคยังมีปริมาณน้อย ผู้บริโภคยังไม่มีความตระหนักถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการค้าที่เป็นธรรม ผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่า หน่วยงานรัฐควรให้การสนับสนุนองค์กรที่มีการค้าอย่างเป็นธรรม รวมถึงการเผยแพร่การค้าอย่างเป็นธรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กรธุรกิจทั่วประเทศ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตกาแฟไทย รวมถึงองค์กรธุรกิจต่างๆ ควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง การมีเทคโนโลยีในการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดต้นทุนการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานที่สนใจ และปรับใช้กับการขอตรารับรองคุณภาพ Fairtrade หรือการขอตรารับรองคุณภาพอื่นๆ ได้
This research study has two purposes. The first purpose is to study methods to achieve the Fairtrade certificate hallmark in coffee form the Doi Chaang coffee original company limited. This is to help guide and increase the capabilities for Thai coffee products on an international scale. The second purpose of this research is to study problems and obstacles that Doi Chaang coffee original company limited product, faced in regards to receiving the Fairtrade certificate hallmark. This includes how to resolve problems and apply knowledge. When requesting a Fairtrade hallmark guarantee for Thai coffee businesses. This research study will be using qualitative research along with data analysis or Documentary research. The Qualitative study will be using interviewing people with key information from Doi Chaang coffee original company limited in Bangkok and, The Doi Chaang coffee Estate in Mae Suai, Chiang Rai. The study will be divided into three parts. The first part will be upstream process. The second part will be middlestream process and lastly downstream process. How they achieved the Fairtrade certificate hallmark, to increase the capabilities for Thai coffee products and make it competitive on an international scale. The results of the study suggest that during the upstream process. Doi Chaang was able to be competitive by creating unique products. Which is a coffee that has a distinctive characteristic compared to coffees grown in other areas. They also had agriculturalist who has expertise and capabilities in producing coffee. This allowed Doi Chaang coffee to have a high quality. As for the middlestream process, which is a sustainable type for production. This permits them to cut down on environmental expediters that have a higher cost compared to a sustainable process. And lastly, Downstream process. The process at the downstream process shows the consumer value that they will receive. The value that they will receive is more than what the product is worth. The farmers who produce the products receive fair compensation, this allows for development in the quality of life. Doi Chaang coffee original company limited the aim to trade fairly and with transparency in its operations. This is the mechanism that allows them to increase their capabilities and compete in the international market for coffee products. However the asking for Fairtrade certificate hallmark regarding as the new matter in coffee industry including awareness from the customer still be less. The customer were not aware of using a product of the fair trade. So investigator had the opinion that the governmental sectors should support any organizations which have the fair trade including the fair commercial publicity for increasing the capacity to any business organization in the country. Therefore Thailand coffee industry including any business organizations should give precedence to attention of related people; having eco-friendly technology in production for decrease the cost of environment managing by ability to apply with interesting operation and adjust with asking for Fairtrade certificate hallmark or asking for other certifications.