แนวทางการจัดการของเสียอันตรายจากภาคครัวเรือน กรณีศึกษา : ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
GUIDELINES FOR THE MANAGEMENT OF HAZARDOUS WASTE IN THE HOUSHOLD SECTOR: A CASE STUDY OF ON NUT 14 RAI COMMUNITY, PRAWET DISTRICT, BANGKOK
การวิจัยของการค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการของเสียอันตรายจากภาคครัวเรือนของชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ในปัจจุบัน 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน และ 3) เสนอแนวทางในการจัดการของเสียอันตรายภาคครัวเรือนที่เหมาะสม เพื่อสามารถนำไปประยุกต์กับชุมชนอื่น การศึกษาครั้งนี้ได้นำตัวชี้วัดความสำเร็จของหลักการกระบวนการในการบริหารงาน (Balanced Scorecard: BSC.) มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์กระบวนการและการจัดการของเสียอันตรายภาคครัวเรือน กรณีศึกษาชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 4 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเรียนรู้และพัฒนาหน่วยงาน และประสิทธิผล ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interviews) โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Information) จำนวนรวม 15 ท่าน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ประชาชนในชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตประเวศ และภาคเอกชน (บริษัท สถานีรีไซเคิล วงษ์ พาณิชย์สุวรรณภูมิ จำกัด) ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participation) รวมถึงการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษามีดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการ พบว่าชุมชนมีจุดเด่นด้านการมีผู้นำชุมชนที่มีภาวะผู้นำ ทำให้ชุมชนมีปัญหาในการจัดการของเสียน้อย ซึ่งชาวบ้านให้ความเคารพนับถือและเชื่อฟัง ผู้นำ ส่งผลให้ชุมชนมีกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงาน มีจัดกิจกรรมร่วมกับองค์กรภายนอกต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและมีความต่อเนื่อง และมีจุดด้อยด้านการขาดนโยบายและแผนงาน การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรม 2) ด้านกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่าภาครัฐมีการส่งเสริมการฝึกอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกชุมชน รวมถึงเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้าร่วมในกิจกรรมที่ภาครัฐจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจัดระบบแนวทางการขนส่งของเสียอันตรายแก่ชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ ในขณะที่การบูรณาการการดำเนินงานกับภาคเอกชนเรื่องการจัดการของเสียอันตรายภาคครัวเรือนยังไม่เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม 3) ด้านการเรียนรู้และพัฒนา พบว่าชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ มีการเรียนรู้และพัฒนาด้วยตนเองและผ่านกิจกรรรมของหน่วยงานภายนอกอย่างต่อเนื่อง เช่น การมอบหมายผู้แทนชุมชนเข้าร่วมอบรมผ่านการนัดประชุมหรืออบรม และการแบ่งปันความรู้ระหว่างสมาชิกในชุมชน เป็นต้น และ 4) ด้านประสิทธิผล พบว่าชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการจัดการของเสียอันตรายภาคครัวเรือน เนื่องจากยังมีการแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ และการเก็บสะสมของเสียอันตรายไว้ในครัวเรือนเป็นระยะเวลานาน โดยผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะ เรื่อง การส่งเสริมการจัดการขยะอันตรายภาคครัวเรือนอย่างถูกวิธีและถูกต้องถามหลักวิชาการ โดยบูรณาการร่วมกับภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เช่น การคัดแยก การจัดเก็บ การขนส่ง และการกำจัด เป็นต้น พร้อมทั้ง การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องและอันตรายที่อาจจะเกิดต่อสุขภาพของคนในชุมชนรวมถึง ภาครัฐควรสนับสนุนกลุ่มอาชีพซาเล้งในชุมชนเพื่อผลักดันให้เป็นภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังการลักลอบทิ้งของเสียอันตรายในบริเวณพื้นที่ชุมชน
This independent study has the objective to 1) study the current hazardous waste management practices for the household sector of the On Nut 14 rai community, 2) study the challenges and barriers in the management of hazardous waste from the community and 3) propose appropriate recommendations for the management of household hazardous waste, in order to be applicable to other communities. This study has adopted the use of the indicators of success from the strategic planning and management principle, known as the Balanced Scorecard (BSC.), within the analysis of the process and management of hazardous household waste in the case study of the On Nut 14 rai community. The abovementioned principle consists of 4 components: management, stakeholder, learning and growth, and effectiveness. This study is a qualitative research, in which the process of data collection was conducted through semi-structured interviews with 15 key informants, including community leaders, people from On Nut 14 rai community, Prawet district officials and representatives from the private sector ( Wongpanit Suvarnabhumi Recycle Station Co., Ltd.). The data collection method of semi-structured interviews was done in conjunction with non-participatory observation and document analysis. The results of the study are as follows: 1) Management; it was found that the community’s strength is the strong leadership of the community leaders that leads to less problems concerning the issue of waste management, in which the villagers respect and follow instructions made by the community leader. As a result, the community possesses a mechanism to drive operations and joint activities with various external organizations that have been proceeded efficiently and continuously. However, there is a disadvantage in the lack of policy and plan for monitoring and evaluation in a concrete method 2) Stakeholders; it became evident that the government sector partake in the promotion of training to educate community members, provide opportunities for community to participate in activities that the government constantly organize, as well as establish a hazardous waste transportation system for the community, in order to contribute to the factor of hygiene. In terms of the operational integration with the private sector on the management of household hazardous waste, the process has yet to succeed. 3) Learning and growth; it was found that the On Nut 14 rai community has shown constant self-learning and development through the activities of external organizations, such as assigning community representatives to attend training through meetings or training sessions and knowledge-sharing among community members, etc. and 4) Effectiveness; The On Nut 14 rai community has yet to succeed in the management of household hazardous waste, due to the separation of electronic waste and the accumulation of hazardous waste in the household for a long duration. The recommendations from this study were to promote the correct method of hazardous waste management in the household sector by integrating with the public, private and public sectors, such as the process of separation, storage, transportation, etc. This process should be conducted alongside the procedure of educating about relevant laws and potential health hazards of the people in the community, including the support from the government sector in reinforcing the Saleng group in the community to promote a surveillance network to look out for illegal waste smuggling within community areas.