ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
FACTORS CONTRIBUTING TO THE SUCCESS OF SUSTAINABLE SOLID WASTE MANAGEMENT: CASE STUDY OF ON NUT 14 COMMUNITY, PRAWET DISTRICT, BANGKOK
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอย และ 3) เสนอแนะแนวทางการจัดการ ขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 ท่านประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ประชาชนในชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตประเวศ และภาคเอกชน บริษัทจำกัดสถานีรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์สุวรรณภูมิ และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (non-participation observation) พร้อมด้วยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยนี้ได้นำทฤษฎีระบบการบริหารงานและประเมินผลองค์กร (Balanced Scorecard) มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอย โดยหลักการ 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) ด้านการเรียนรู้และพัฒนาหน่วยงาน และ 4) ด้านประสิทธิผล ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านประสิทธิผล พบว่าชุมชนมีการจัดการขยะโดยการสร้างมูลค่า เพื่อจูงใจคนในชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญของขยะที่มีอยู่ในครัวเรือน 2) ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่าสำนักงานเขตประเวศมีการส่งเสริมความรู้ด้านการจัดการขยะมูลฝอยและการจัดเก็บขยะรวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ 3) ด้านการบริหารจัดการ พบว่าสมาชิก ชุมชนมีส่วนร่วม ในกิจกรรมการจัดการขยะมูลฝอยเป็นอย่างดีและพร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐ 4) ด้านการเรียนรู้และพัฒนา พบว่าชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่มีการส่งเสริมการเรียนรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย โดยสอนให้เยาวชนได้ตระหนักและมีจิตสำนึกที่ดีด้านสิ่งแวดล้อมผู้นำชุมชนมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตให้กับสมาชิกในชุมชน ผ่านร้านศูนย์บาท ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับสมาชิกในชุมชน ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม สมาชิกในชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะในครัวเรือนก่อนนำไปทิ้ง และผู้นำชุมชนมีกระบวนการในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน เริ่มต้นจากผู้นำชุมชนที่มีความใส่ใจ กล้าคิด กล้าทำ มีความมุ่งมั่นที่จะให้สมาชิกในชุมชนตระหนักในความสำคัญของการจัดการขยะมูลฝอยภายในชุมชน โดยผู้นำชุมชนสร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกในชุมชนผ่านกิจกรรม หรือการให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอยที่มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยข้อเสนอแนะจากงานวิจัยในครั้งนี้ คือการส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนอันเกิดจาก 3 ปัจจัยสำคัญได้แก่ 1) ผู้นำชุมชนมีความมุ่งมั่น กล้าคิด กล้าทำ มีความคิดริเริ่มสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับสมาชิกในชุมชน 2) หน่วยงานภาครัฐส่งเสริมและให้ความรู้ร่วมกับผู้นำชุมชน และ3) ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเกิดความร่วมมือทั้ง 3 ภาคส่วนนำไปสู่กระบวนการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
This research aims to 1) study solid waste management of On Nut 14 Rai community, 2) study factors affecting the success of solid waste management, and 3) to propose recommendations related to sustainable managements of solid waste. This research is a qualitative research, in which data was collected from semi-structured interviews. The informants consisted of 15 people, including community leaders, local villagers within the On Nut 14 rai community, Prawet District Office officials and the private sector, Wongpanit Suvarnabhumi Recycle Station Co., Ltd. The mentioned data collection method was conducted together with non-participant observation and document analysis. This research applied the theory of the Balanced Scorecard system to analyze the factors contributing to the success of solid waste management. The key issues are based on four principles: 1) management, 2) stakeholders, 3) learning and organizational development, and 4) effectiveness. The results founded that 1) for the aspect of effectiveness, the community managed waste by creating additional value to motivate people within the community to see the importance of waste within their households. 2) In terms of the stakeholders, it was found that Prawet District Office has promoted knowledge on waste management and storage, as well as provided opportunities for the community to participate in the management of solid waste within the area. 3) It was found from the management principle that community members show willingness and firm engagement in solid waste management activities in the community with the public sector. 4) Regarding the learning and development, it became apparent that the On Nut 14 Rai community had foster the learning of solid waste management by teaching children to be aware and cultivate environmentally friendly conscience. In addition, community leaders had proposed ideas that would transform the quality of livelihood for members of the community through the establishment of “Zero Baht Shop”, which served as a learning center. Therefore, It was found from the study that the factor contributing to the success of solid waste management was the factor of “participation”, due to the cooperation of the residents in On Nut 14 rai community in sorting household waste before disposal and community leaders who are able to manage solid waste sustainably. This process starts with the attentiveness, boldness and firm commitment of the abovementioned community leaders to make members of the community aware of the importance of waste management within the community, in which they engage with locals through activities or provide knowledge and understanding on solid waste management through integration with governmental and private sectors. In terms of implementing a solid waste management process that is sustainable. The recommendations from this study was to promote the sustainable management of waste from 3 key factors, as follows 1) the leaders of the community have to be committed, bold, courageous and possess innovative mindset that can initiate participation with members of the community, 2) Government agencies should promote and educate on the key issues simultaneously with community leaders and 3) Private sector should contributes in all 3 mentioned sectors , which will lead to the creation of a sustainable solid waste management process henceforward.