Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
การศึกษาแนวนโยบายและแผนปฏิบัติในการปรับพฤติกรรม การใช้พลังงานไฟฟ้าของพนักงาน เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ในองค์กร กรณีศึกษาเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ
Title
Study of policy guidelines and action plan for behavioral change in electrical energy usage to reduce greenhouse gases in the organization. A case study of Phoochaosamingprai Municipality Samut prakan Province.
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้า พฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้า ของพนักงาน และแนวนโยบายและแผนปฏิบัติในการปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในองค์กร ของพนักงานเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ พนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงานเทศบาล เมืองปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ จำนวนทั้งหมด 211 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งคำถามที่ใช้เป็นทั้งลักษณะปลายปิด และปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-Test และ Correlation ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 68.7 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 37.9 จบการศึกษาระดับ ปริญญาตรี ร้อยละ 82.9 มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในองค์กรต่ำกว่า 5 ปี มากที่สุดร้อยละ 43.1 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นพนักงานจ้าง ตามภารกิจมากที่สุด ร้อยละ 49.3 สังกัดสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 23.2 มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตจังหวัดสมุทรปราการ ร้อยละ 42.2 เคยรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 96.7 มีความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในองค์กร ของพนักงานเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในองค์กร ตำแหน่งที่ปฏิบัติงานในองค์กร สำนัก/กองที่สังกัดในองค์กร ความถี่ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และความสนใจในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ การประหยัดพลังงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
Abstract
This study is aimed at studying the factors affecting behavior on electrical energy usage. Moreover it studies policy guidelines and action plan for behavioral change to reduce greenhouse gases emission in the organization of Phoochaosamingprai Municipality Samutprakarn Province. The sample involved 211 (numbers) staffs in Phoochaosamingprai Municipality office building Samutprakarn Province, data collected by questionnaires. The statistic used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t – test, F – test and Pearson correlation. The results showed that most respondents were women (68.7%), between 31 -40 years old (37.9%). Obtained bachelor’s degree (82.9%), with work experience below 5 years (43.1%). Most respondents were employees (49.3%), under the Public Health and Environment Department (23.2%), are domiciled outside Samutprakarn Province (42.2%). They also received information to reduce greenhouse gas emission. High level of knowledge, behavior and attitude about energy saving to reduce greenhouse gas emission. The results and hypothesis testing showed that gender, highest education, work duration, position, department, perception frequency of information and personal interest in the information about energy saving and greenhouse gas reduction are the factors that affecting the behavior on electric usage for reducing greenhouse gases emission in the organization in Phoochaosamingprai Municipality Samutprakarn Province.