แนวทางการพัฒนาสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ: กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี
Guidelines for Eco - industrial Town: A Case Study of TFD Industrial Estate
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการยกระดับนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดีสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับ Eco – champion ใน 5 มิติ ตามมิติของเมืองอุตสาหกรรม เชิงนิเวศ ซึ่งประกอบด้วย มิติกายภาพ มิติเศรษฐกิจ มิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติการบริหารจัดการ และเพื่อให้ทราบถึงปัญหา ข้อจำกัด ตลอดจนอุปสรรคที่อาจส่งผลให้นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดีไม่สามารถยกระดับสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับ Eco – champion ได้ การศึกษาดำเนินการโดยการเก็บแบบสำรวจจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนำข้อมูลที่ได้จากการเก็บแบบสำรวจมารวบรวมและวิเคราะห์หาช่องว่าง (Gap Analysis) เพื่อเปรียบเทียบข้อกำหนดคุณลักษณะและเกณฑ์ตัวชี้วัดของการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับ Eco – champion กับสถานภาพการดำเนินงานในปัจจุบันของนิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี เพื่อหาแนวทางการพัฒนานคมอุตสาหกรรมทีเอฟดีสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ผลการศึกษา พบว่า นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี มีศักยภาพในการยกระดับสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในระดับ Eco – champion ได้ โดยมุ่งเน้นการขอความร่วมมือ จากผู้ประกอบการในการให้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดทำฐานข้อมูลและสถิติในมิติต่าง ๆ การสานสัมพันธ์ระหว่างโรงงาน – นิคมฯ – ชุมชนโดยสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมต้องเป็นจุดเชื่อมประสานในการสร้างให้เกิดการพึ่งพาระหว่างกัน (Symbiosis) เพื่อมุ่งเน้นการลดต้นทุนผู้ประกอบการโรงงานในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน ตลอดจนการดำเนินงานด้านชุมชนสัมพันธ์ที่ต้องมีแผนการดำเนินงานอย่างเป็นประจำและต่อเนื่อง หลักสำคัญที่ทำให้นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดีสามารถยกระดับสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศได้ คือ ความร่วมมือกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการและความสำคัญของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ อันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่าการกำหนดนโยบายหรือแผนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐหรือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ควรให้ความสำคัญกับผู้ร่วมดำเนินงานในฐานะคู่ค้า ว่ามีความพร้อมในการยกระดับสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศหรือไม่ รวมถึงการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ อีกด้วย เนื่องจากการยกระดับสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับอื่น ๆ ที่สูงขึ้นไป (Eco – excellence และ Eco – world Class) ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสัดส่วนที่มากขึ้นไปตามลำดับ ทั้งนี้ หากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนมีความพร้อมและสมัครใจในการยกระดับสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จะทำให้การยกระดับเป็นไปได้อย่างราบรื่นและรวดเร็ว โรงงาน – นิคมฯ – ชุมชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างพึ่งพาอาศัยกันและอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
This research aimed to suggest the guidelines for Eco – industrial Town development in Eco – champion level of TFD Industrial Estate which studied in 5 difference dimensions: physical, economic, environmental, social and managerial, and to know the problem, limitation and threat that may interrupt the Eco – industrial Town development of TFD Industrial Estate. This research was a qualitative research which collected questionnaires from the stakeholders. The data obtained were analyzed using Gap Analysis to compare the current status of TFD Industrial Estate and the criteria of being the Eco – industrial Town in Eco – champion level to present the guidelines for Eco – industrial Estate Town of TFD Industrial Estate. The study had found that TFD Industrial Estate had the potential to be the Eco - industrial Town in Eco – champion level by focusing on the cooperation of entrepreneur, the relationship between Industrial Estate – Entrepreneur – Community with the goal of reducing the cost of entrepreneur and increasing income for the community around TFD Industrial Estate. Moreover, TFD Industrial Estate must had the continuous plan for corporate social responsibility or CSR with the community to maintain the good relationship with each other. The key factor to elevate the TFD industrial estate to the Eco – industrial Town was the cooperation of stakeholders that they must understanding the principles, advantages and also the roles which led to sustainable coexistence. As recommended, the Industrial Estate Authority of Thailand (IEAT) in the role of government agency planned to do something which needed the cooperation of others IEAT needed to focus on the readiness of others too because the elevation to the higher level of being the Eco – industrial Town (Eco – excellence level and Eco – world Class level) needed more cooperation from the stakeholders, so if the stakeholders understood the principles, advantages, roles and willing to follow to the plan, the result would be easy to accomplish and become to sustainable development.