แนวทางการจัดการมลพิษจากฟาร์มสุกรเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของชุมชนตำบลป่าขะ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
Pollution management guideline for sustainable living of surrounding community of the swine farm in Tambon Paka, Banna, Nakhonnayok
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากมลพิษที่เกิดจากฟาร์มเลี้ยงสุกร ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ตำบลป่าขะ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก จำแนกชนิดของมลพิษและแหล่งที่มาของมลพิษที่เกิดจากฟาร์มเลี้ยงสุกร และหาแนวทางการแก้ไขและป้องกันมลพิษจากฟาร์มเลี้ยงสุกร และแนวทางของการดำเนินการฟาร์มสุกรในพื้นที่ชุมชนป่าขะอย่างบูรณาการและยั่งยืน ตาม CIPPI Model ใน 5 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ชนิดของมลพิษที่มีผลต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม คือ กลิ่น น้ำเสีย และฝุ่นละออง ตามลำดับ มีแหล่งที่มาหลัก ๆ คือ ความสะอาดภายในโรงเรือน ลานตากมูลสุกร และระบบบำบัดน้ำเสีย มีผลก่อให้เกิดความรำคาญแก่ชุมชน แต่ยังไม่พบการเจ็บป่วยของชุมชน ขณะที่เกษตรกรไม่มีความรู้ด้านการจัดการฟาร์มสุกรที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ แนวทางที่เหมาะสมในการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน คือ ต้องพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ด้านพร้อม ๆ กัน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำหลักการต่าง ๆ เข้ามาช่วยเช่น หลักเศรษฐกิจพอเพียง หลักธรรมาภิบาล หลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข หลักการจัดการฟาร์มที่ดี เป็นต้น ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรและชุมชนตำบลป่าขะ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
The purposes of this research are to evaluate impact environmental and communal impacts, to classify types and sources of pollution, and recommendation the guidelines for swine farm in Tambon Paka, Banna, Nakhonnayok. CIPPI model was applied within 5 aspects: context, input, process, product, and impact by qualitative methodology. The study showed that odor, wastewater, and particle in the air are main pollutants, respectively, which came from sanitation of swine stall, area for swine manure drying, and wastewater treatment system. These pollutants have caused nuisance to the community, although there was no report of illness from the neighborhood community. The farmers were lacked knowledge for swine management. Therefore, to sustainable living in Paka Tambon, the consideration of economic, social and environmental topics was needed in the same way. Moreover, sufficiency economy should be applied for the swine and community management to strengthen swine farming and community with Subdistrict Administration Organization and related government agencies supports.