Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่าความร้อนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Title
Study of the change in heat value in Bangkok area
บทคัดย่อ
การจัดทำรายงานการค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่าความร้อน และแนวทางในการลดค่าความร้อนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเลือกข้อมูลและพิกัดจุดติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษย้อนหลังจำนวน 5 ปีตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 – 2562 จำนวน 8 สถานีได้แก่ สถานีเขตบางขุนเทียน เขตบางนา อำเภอพระประแดง เขตบางกะปิ เขตยานนาวา อำเภอบางกรวย เขตธนบุรี และเขตดินแดง โดยในแต่ละเขตสามารถจำแนกอยู่ในเขตผังเมืองสีน้ำตาล สีส้ม และสีเหลือง การศึกษาใช้โปรแกรม ArcGIS Version 10.2. เพื่อหารัศมีค่าการกระจายความร้อนในแต่ละฤดูของแต่ละปี และเพื่อดูการกระจายตัวของรัศมีความร้อนที่แบ่งเป็น การกระจายความร้อนระดับต่ำ ช่วงอุณหภูมิ 27 – 30 °C การกระจายความร้อนระดับปานกลาง อยู่ในช่วงอุณหภูมิ 30 – 33 °C และการกระจายความร้อนระดับสูง อยู่ในช่วงอุณหภูมิ 33 °C ขึ้นไป จากผลการศึกษาพบว่าบริเวณผังเมืองสีน้ำตาลที่เป็นที่อยู่อาศัยความหนาแน่นมาก ในช่วงฤดูร้อนจะมีระดับการกระจายความร้อนระดับต่ำถึงระดับการกระจายความร้อนระดับสูงโดยรัศมีการกระจายความร้อนระดับสูงอยู่ในช่วง 0.5-3 กิโลเมตร ในช่วงฤดูฝนมีระดับการกระจายความร้อนระดับต่ำถึงระดับการกระจายความร้อนระดับสูงโดยรัศมีการกระจายความร้อนระดับสูงอยู่ในช่วง 0.5-1.5 กิโลเมตร และในช่วงฤดูหนาวมีระดับการกระจายความร้อนระดับต่ำถึงระดับการกระจายความร้อนระดับสูงโดยรัศมีการกระจายความร้อนระดับสูงอยู่ที่ 0.5 กิโลเมตร เนื่องจากในบริเวณผังเมืองสีน้ำตาลเป็นบริเวณที่มีความหนาแน่นของอาคารสูง ประกอบกับพื้นที่สีเขียวเปิดโล่งมีน้อยทำให้ค่าการกระจายความร้อนอยู่ในระดับต่ำถึงระดับสูง บริเวณผังเมืองสีส้มที่เป็นที่อยู่อาศัยความหนาแน่นปานกลาง ในช่วงฤดูร้อนจะมีระดับการกระจายความร้อนระดับต่ำถึงระดับการกระจายความร้อนระดับสูงโดยรัศมีการกระจายความร้อนระดับสูงอยู่ในช่วง 0.5-2 กิโลเมตร ในช่วงฤดูฝนมีระดับการกระจายความร้อนระดับต่ำถึงระดับการกระจายความร้อนระดับสูงโดยรัศมีการกระจายความร้อนระดับสูงอยู่ในช่วง 0.5-2 กิโลเมตร และในช่วงฤดูหนาวมีระดับการกระจายความร้อนระดับต่ำถึงระดับการกระจายความร้อนระดับปานกลางโดยรัศมีการกระจายความร้อนระดับปานกลางอยู่ที่ 0.5-2 กิโลเมตร เนื่องจากในบริเวณผังเมืองสีส้มเป็นบริเวณที่มีความหนาแน่นของอาคารปานกลาง ประกอบกับพื้นที่สีเขียวเปิดโล่งมีน้อยทำให้ค่าการกระจายความร้อนอยู่ในระดับต่ำถึงระดับสูง บริเวณผังเมืองสีเหลืองที่เป็นที่อยู่อาศัยความหนาแน่นน้อย ในช่วงฤดูร้อนจะมีระดับการกระจายความร้อนระดับต่ำถึงระดับการกระจายความร้อนระดับสูงโดยรัศมีการกระจายความร้อนระดับสูงอยู่ในช่วง 0.5-1.5 กิโลเมตร ในช่วงฤดูฝนมีระดับการกระจายความร้อนระดับต่ำถึงระดับการกระจายความร้อนระดับปานกลางโดยรัศมีการกระจายความร้อนระดับปานกลางอยู่ในช่วง 0.5-2 กิโลเมตร และในช่วงฤดูหนาวมีระดับการกระจายความร้อนระดับต่ำถึงระดับการกระจายความร้อนระดับปานกลางโดยรัศมีการกระจายความร้อนระดับปานกลางอยู่ที่ 0.5 กิโลเมตร เนื่องจากในบริเวณผังเมืองสีเหลืองเป็นบริเวณที่มีความหนาแน่นของอาคารต่ำ ประกอบกับพื้นที่สีเขียวเปิดโล่งมีมากกว่าบริเวณผังเมืองสีน้ำตาล และสีส้มทำให้ค่าการกระจายความร้อนอยู่ในระดับต่ำถึงระดับปานกลาง เพราะลมสามารถพัดพาความร้อนออกจากพื้นที่ได้เร็ว ดังนั้นในการออกแบบชุมชนเมืองไม่เพียงต้องคำนึงถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนอาคาร แต่ต้องคำนึงถึงการพัดพาความร้อนของลมประจำถิ่น และการเปิดพื้นที่โล่งในบริเวณที่มีความหนาแน่นของอาคารสูง เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างอาคารบดบังทิศทางลม
Abstract
The purpose of this research was to study the heat value changes, and suggestion for reducing the heat value in Bangkok by selecting data and coordinates of installation points for air quality monitoring stations of the Pollution Control Department for the past 5 years during 2015-2019. The data were from 8 stations - Bangkhunthian, Bangna, Prapadaeng Bangkapi, Yannawa, Bangkruay, Thonburi, and Dindaeng which each was classified in brown, orange, and yellow urban planning areas. The study used ArcGIS Version 10.2 program to find the radius of the heat distribution in each season of each year and also to find the distribution of the radius of the heat divided into Low heat distribution, temperature range 27 – 30 °C, medium heat dissipation in the range of 30 - 33 °C and high heat distribution in the range of 33 °C and above. This research found that the brown area is very densely residential area During the summer, there was a low level to a high level of heat dissipation with a high radius of heat distribution between 0.5-3 kilometers. In rainy season, there was a low level to a high level of heat dissipation with a high radius of heat distribution between 0.5-1.5 kilometers. Besides, during the winter season, there was a low level to a high level of heat dissipation with a high radius of heat distribution around 0.5 kilometers due to the brown area had high density of buildings. In addition, as of the less of green open space then it caused the heat distribution from a low to a high level. The orange area was a densely residential area during summer, there was a low to a high level of heat dissipation with a high radius of heat distribution between 0.5-2 kilometers. However, in the rainy season, there was a low to a high level of heat dissipation with a high radius of heat distribution between 0.5-2 kilometers. In winter season, there was a low level to a medium level of heat dissipation with a medium radius of heat distribution between 0.5-2 kilometers due to the orange area had density of buildings. In addition, due to the less of green open space, it caused the heat distribution to be low to high level as of a yellow area was a low densely residential area. In the summertime, there was a low to a high level of heat dissipation with a high radius of heat distribution between 0.5-1.5 kilometers. During the rainy season, there was a low level to a medium level of heat dissipation with a high radius of heat distribution between 0.5-2 kilometers. However, in a wintertime, there was a low level to a medium level of heat dissipation with a medium radius of heat distribution around 0.5 kilometers due to the yellow area had low density of buildings. In addition, there were more green open spaces than brown and orange areas then causing the heat distribution to be low to medium. Also, the wind can affect the heat blown out from this area. In designing urban communities, it is not only to consider either green space in the city, but it is also to consider the heat flow of the local wind and the open spaces in dense areas of high-rise buildings in order to avoid building obstructing the wind direction as well.