Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดแมลงในบ้านเรือน กรณีศึกษา บ.เอพี พลัส จำกัด
Title
Assessment of Health Effect from the Usage of Insecticide: A Study of AP Plus Co., Ltd
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดแมลงในบ้านเรือน ของพนักงานแผนกบริการ บ.เอพี พลัส จำกัด และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานแผนกบริการ บ.เอพี พลัส จำกัด กลุ่มเป้าหมาย คือ พนักงานฝ่ายบริการของ บ.เอพี พลัส จำกัด จำนวนทั้งหมด 22 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา อาทิ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ผลการศึกษา พบว่า ด้านระดับความรู้ในการใช้สารเคมีกำจัดแมลงของพนักงานฝ่ายบริการ บ.เอพี พลัส จำกัด อยู่ในระดับมีความรู้มาก ด้านพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดแมลง อยู่ในระดับดีมากที่สุด ด้านการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดแมลง อยู่ในระดับดีมากที่สุด ด้านผลกระทบที่เกิดจากการสัมผัสสารเคมีจากการให้บริการ อยู่ในระดับน้อย และเมื่อทำการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดแมลงที่มีค่าความสัมพันธ์สูง คือ ช่วงอายุของผู้ใช้สารเคมี มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.827 (Sig = 0.000) การป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.724 (Sig = 0.000) รองลงมา มีค่าความสัมพันธ์ค่อนข้างสูง คือ พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดแมลง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.613 (Sig = 0.002) ความรู้ในการใช้สารเคมีกำจัดแมลง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.165 (Sig = 0.464) อยู่ในระดับมีความสัมพันธ์ต่ำ และ อายุการทำงาน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ - 0.159 (Sig = 0.479) อยู่ในระดับมีความสัมพันธ์ต่ำ ในทางลบ เป็นลำดับสุดท้าย การศึกษานี้เสนอแนะให้ บ.เอพี พลัส จำกัด ควรหาวิธีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีของพนักงานให้มีความเหมาะสมถูกต้องตามหลักวิชาการยิ่งขึ้นเพื่อลดผลกระทบทางสุขภาพ ควรมีการฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดแมลง ทั้งในและนอกองค์กร ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง ทบทวนมาตรฐานวิธีการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ กำหนดข้อบังคับในการปฏิบัติตัวของพนักงานบริการและควรมีการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการรักษาสุขภาพ
Abstract
The objectives of this study were to assess health effect of the usage of insecticide of AP Plus Co., Ltd service department employees in the customer service section and to analyze the factors that are related to the physical health effect. The data were collected from 22 employees of the service department of AP Plus Co., Ltd using questionnaire. The data were analyzed by descriptive statistics and correlation. The study found that the employees had good basic knowledge of insecticide and the highest level of insecticide using behavior. The effect on physical health from using insecticide was low. The analysis of correlation indicated that the factor that was highly relevant to the physical health effect was the insecticide user’s age. (Correlation = 0.827 significance = 0.000). Self-protection of insecticide usage had correlation = 0.724 significance = 0.000. The factor that was fairly relevant to the physical health effect was insecticide using behavior. (Correlation = 0.613, significance = 0.002). Knowledge of insecticides using had correlation of 0.165 which were low, (significance = 0.464). Lastly, working period had correlation of -0.159 which was low and opposite direction (significance = 0.479). This study suggested that AP Plus Co., Ltd should improve the way of insecticide usage to be more appropriate to reduce risk of health effect. Moreover, it should encourage and support the use of self-protection kit of employees and reconsider the standard of pest control services as well. In addition, it should specify and determine the rules and regulations of the company followed by encouraging the promotion of physical health for employees