Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
การศึกษาวิจัยเรื่องการตัดสินใจใช้ถุงขยะสีรุ้งสำหรับคัดแยกขยะครัวเรือนของประชาชน เขตพื้นที่บางกะปิ กรุงเทพมหานคร
Title
The decision to use rainbow-colored garbage bags for sorting household waste in Bang Kapi , Bangkok
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติในการคัดแยกขยะครัวเรือนของชาวบางกะปิ 2.ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ถุงขยะสีรุ้งสำหรับคัดแยกขยะ 3.นำเสนอแนวทางดำเนินการใช้ถุงขยะสีรุ้งในพื้นที่บางกะปิ วิธีการศึกษาเป็นการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในเขตบางกะปิ จำนวน 100 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรทาโร่ ยามาเน่ โดยการสุ่มแบบบังเอิญและแบบบอกต่อ วิเคราะห์โดย ค่าเฉลี่ย t-test F-test และ Pearson’s correlation จากการศึกษาวิจัยพบว่าประชาชนชาวบางกะปิมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการคัดแยกขยะ ว่าต้องมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ครัวเรือนก่อนทิ้งให้รถขยะเก็บอยู่ในระดับสูง ในด้านทัศนคติชาวบางกะปิเห็นด้วยอย่างยิ่งกับนโยบายการคัดแยกขยะตั้งแต่ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ชาวบางกะปิมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ถุงขยะสีรุ้งพบว่าลักษณะส่วนบุคคล เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ อาชีพ มีการตัดสินใจใช้ถุงขยะสีรุ้งไม่ต่างกัน ส่วนปัจจัยอื่น ๆ เช่น ทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการคัดแยกขยะไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจถุงขยะสีรุ้ง ส่วนปัจจัยเรื่องความเต็มใจในการจ่ายนั้นมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้ถุงขยะสีรุ้งที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 กรณีศึกษานี้มีข้อเสนอแนะว่า 1.ภาครัฐควรส่งเสริมความรู้ในเรื่องการคัดแยกขยะตามประเภทอย่างถูกต้อง 2.ควรจัดตั้งนโยบายปฏิทินขยะ โดยจัดวันเก็บขยะตามประเภทเพื่อกระตุ้นให้เกิดการคัดแยกขยะตั้งแต่ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรม
Abstract
The objective of this study is to 1. Study and understanding Attitude towards the household waste separation of Bangkapi people 2. Study the factors affecting the decision to use rainbow-colored garbage bags for waste separation. 3. Propose guidelines for the use of rainbow-colored garbage bags in Bang Kapi area. The method of the study was to collect questionnaires from sample groups, namely The population in Bangkapi District, 100 people, determined the sample size from the Taro Yamane formula by accidental and oral sampling by means of t-test, F-test, and Pearson’s correlation. From the research, it is found that Bangkapi people have knowledge and understanding about waste separation. That the waste must be separated from the household before being dumped into a high-level garbage truck. Regarding attitude, Bang Kapi people strongly agreed with the waste separation policy at a high level. As a result, Bangkapi people have waste separation behaviors at a high level. Factors affecting the decision to use rainbow garbage bags found that personal characteristics such as gender, age, education level, income, occupation have the decision to use rainbow-colored garbage bags are not different. Other factors such as attitude, knowledge, and understanding And behavior about waste separation does not correlate with the decision to use rainbow-colored garbage bags. As for the factors of willingness to pay, it is related to the decision to use the rainbow-colored garbage bags at the significant level of 0.05. This case study suggests that 1. The government sector should promote knowledge about waste separation by type correctly 2. Should set up a garbage calendar policy by specifying the day for waste collection according to the type in order to encourage concrete waste separation from the household