การคัดแยกขยะมูลฝอยรีไซเคิลของพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการคัดแยกขยะมูลฝอยรีไซเคิลของพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย วิเคราะห์โอกาสและความท้าทายของการคัดแยกขยะมูลฝอยรีไซเคิล เพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกขยะมูลฝอยรีไซเคิลของเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย โดยจัดเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างกับพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย ที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 5 ปี ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการคัดแยกขยะมูลฝอยรีไซเคิลของพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ขั้นตอนการวางแผนและเตรียมความพร้อมก่อนการเก็บขนขยะมูลฝอยรีไซเคิล 2. ขั้นตอนระหว่างการเก็บขนขยะมูลฝอยรีไซเคิล และ 3. ขั้นตอนหลังการเก็บขนขยะมูลฝอยรีไซเคิล โดยขั้นตอนที่ 1 พบว่า พนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย มีขั้นตอนการวางแผนเตรียมความพร้อมการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยรีไซเคิลไว้อย่างชัดเจน สำหรับขั้นตอน การวางแผนช่วงวันเวลาขายขยะมูลฝอยรีไซเคิล มีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมและฉันทามติภายในรถ และไม่พบการวางแผนเส้นทางและช่วงเวลาการเก็บขนขยะมูลฝอยรีไซเคิลโดยเฉพาะ สำหรับขั้นตอนที่ 2 พบว่า พนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย มีการคัดแยกขยะมูลฝอยรีไซเคิล ณ จุดรองรับขยะมูลฝอย แต่ไม่มีการแบ่งหน้าที่เพื่อคัดแยกขยะมูลฝอยรีไซเคิลโดยเฉพาะ และขั้นตอนที่ 3 พบว่า พนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย มีการจัดสรรผลประโยชน์ แต่ไม่มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย และไม่พบการคัดแยกขยะมูลฝอยรีไซเคิลซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ ผลการวิเคราะห์โอกาสและความท้าทายของการคัดแยกขยะมูลฝอยรีไซเคิลของพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย พบว่า โอกาสสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ โอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนจากการคัดแยกขยะมูลฝอยรีไซเคิล และโอกาสในการลดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน สำหรับความท้าทายที่เกิดขึ้นคือ สภาพอากาศที่แปรปรวน และการจราจรที่แออัด แม้ว่า การคัดแยกขยะมูลฝอยรีไซเคิลของพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย หรือรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยรีไซเคิล ณ กลางทาง จะสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มคนดังกล่าว แต่ข้อมูลนี้ สะท้อนให้เห็นว่า นโยบายหรือมาตรการ และผลการดำเนินงานด้านการจัดการขยะมูลฝอยรีไซเคิลของภาครัฐ ทั้งในอดีตถึงปัจจุบัน ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด ดังนั้น การจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการขยะมูลฝอยรีไซเคิล อาจเป็นแนวคิดที่ดีที่จะทำให้ขยะมูลฝอยรีไซเคิลเข้าสู่ระบบรีไซเคิลมากยิ่งขึ้น แต่การดำเนินงานข้างต้น อาจส่งผลกระทบถึงกลุ่มคนดังกล่าว ดังนั้น พนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย อาจต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
This study examines the process of waste sorting and recycling by garbage collectors in Poochaosamingprai Municipality. Opportunities and challenges of sorting recycled waste were analyzed to propose methods for increasing efficiency of separating recycled waste in Poochaosamingprai Municipality. Data was collected through semi-structured interviews with samples, all garbage collectors in Poochaosamingprai Municipality with over five years of professional experience. Results were that waste sorting and recycling by garbage collectors processes consist of three steps: 1) planning and preparation before waste recycling collection; 2) the stage between waste recycling collection and transportation; and 3) after waste recycling collection. The first step revealed that garbage collection staff had a clear planning process for collecting recyclable waste, planning intervals of recycled waste sales, with appropriate and agreed-upon changes within each vehicle, but no specific route planning or time for waste recycling. In the second step, garbage collectors sorted recycled waste recycling at disposal points without division of duties to separate waste for recycling. For the third step, garbage collection staff were allocated benefits in the absence of accounting for income and expenses, and no items for sorting, recycling, or reuse were identified. This analysis of opportunities and challenges in garbage collector sorting of recycled waste suggests that opportunities may be categorized into two types: receiving benefits or compensation from sorting recycled waste and reduction of working hours in terms of potential challenges, including variable weather and heavy traffic. Although waste sorting and recycling by garbage collectors and recycling is a form of intermediate waste recycling management, generating group income, the data implies that government waste management policies, guidelines, and performance were and are inadequate. Insofar as current problems cannot be solved thoroughly, a waste recycling management center might be established to convert more solid waste into the recycling system, in an operation possibly impacting citizens in a way that may require adaptation to new situations that may arise.