แนวทางการบริหารจัดการน้ำท่วมที่เหมาะสมสำหรับชุมชนพาณิชยกรรมในเมือง กรณีศึกษาชุมชนเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี
Appropriate flood management guidelines for urban commercial communities: A case study of urban communities in Ubon Ratchathani Province
การศึกษาเรื่องแนวทางการบริหารจัดการน้ำท่วมที่เหมาะสมสำหรับชุมชนพาณิชยกรรมในเมือง กรณีศึกษาชุมชนเมืองในจังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบสาเหตุและระดับความรุนแรงของปัญหาอุทกภัยหรือน้ำท่วมชุมชนเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานีและอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำท่วมชุมชนเมืองได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว วิธีดำเนินการศึกษา ผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยหรือกระบวนวิธีการวิจัย โดยการใช้กระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การศึกษาสภาพพื้นที่ทั่วไปของอำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ เพื่อทราบชนิด สาเหตุ ปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วม และผลกระทบที่เกิดจากน้ำท่วม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ศึกษาความสำเร็จในการแก้ปัญหาน้ำท่วมภายในประเทศ (จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดลพบุรี) และต่างประเทศ (ประเทศมาเลเซีย) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ชุมชนเมืองของจังหวัดอุบลราชธานี ประมวลเหตุการณ์ข่าวน้ำท่วมของจังหวัดอุบลราชธานี รวบรวมบทสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ และบทสัมภาษณ์จากเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อทราบลักษณะน้ำท่วม ลักษณะมูลค่าความเสียหายในพื้นที่ชุมชนเมืองของอำเภอเมืองอุบลราชธานีและอำเภอเมืองวารินชำราบ และแผนเผชิญเหตุอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2562 ผลการศึกษาพบว่า 1. สาเหตุน้ำท่วมในพื้นที่ชุมชนเมืองของจังหวัดอุบลราชธานีไม่ได้เกิดจากฝนที่ตกภายในพื้นที่ แต่เนื่องจากสภาพภูมิประเทศ และที่ตั้งของจังหวัดที่อยู่ตอนปลายสุดของลำน้ำ 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำมูล และแม่น้ำชี ทำให้เมื่อมีฝนตกหนักบริเวณต้นน้ำ น้ำปริมาณมากจากลำน้ำตอนบนไหลลงมาท่วม ทำให้เกิดน้ำท่วมที่ราบลุ่มริมตลิ่งที่อยู่ตอนล่าง โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัด ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานีและอำเภอวารินชำราบ รวมถึงการขยายตัวของเมืองไปเป็นที่พัก โรงแรม และรีสอร์ท จึงทำให้พื้นที่แก้มลิงเดิมที่ทำหน้าที่ชะลอน้ำหายไป ทำให้น้ำเอ่อท่วมชุมชนบริเวณริมแม่น้ำมูล 2. ลักษณะและมูลค่าความเสียหายในพื้นที่ชุมชนเมืองที่เกิดจากน้ำท่วมส่วนใหญ่เป็นสิ่งสาธารณประโยชน์ เช่น สะพาน ถนน บ้านเรือน เสาไฟ วัด โรงพยาบาล 3. ผลกระทบที่เกิดจากน้ำท่วม ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนขาดรายได้เนื่องจากประชาชนในพื้นที่พาณิชยกรรมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย เช่น ชุมชนบ้านช่างหม้อที่มีอาชีพปั้นหม้อไม่สามารถผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายได้เนื่องจากต้องอพยพมาอยู่ศูนย์พักพิงวัสดุ อุปกรณ์ในการผลิตไม่สามารถนำมาผลิตได้จึงทำให้ขาดรายได้มาจุนเจือครอบครัว และก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายจากการอพยพย้ายสิ่งของในครอบครัว เกิดปัญหาหนี้สินให้กับครอบครัวภายหลังน้ำลด เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3,000 –6,000 บาทต่อเดือน ด้านสังคม ชาวบ้านส่วนใหญ่มีฐานะยากจน เมื่อเกิดน้ำท่วมสภาพบ้านเรือนที่สร้างไม่มั่นคงจะมีความเสียหายจากการโดนลมพัด ประตูหน้าต่างบวม ผุพัง กลอนขึ้นสนิม โดยเฉพาะบ้านที่อยู่ใกล้ตลิ่งจะมีปัญหามากเรื่องที่ดินทรุดตัวก่อให้เกิดบ้านพัง ด้านสิ่งแวดล้อม ถนนในชุมชน หมู่บ้านส่วนใหญ่ที่ลาดยางไว้ เมื่อน้ำท่วมและน้ำลดลงยางมะตอยจะหลุดออกไป ทำให้ถนนเกิดเป็นหลุมเป็นบ่อ สัญจรไปมาไม่สะดวก ส่วนชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำจะพบว่าตลิ่งทรุดตัวลง และทำให้บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ใกล้กับตลิ่งจะต้องย้ายออกมาหรือขยับย้ายที่อาศัยออกมา เพราะกลัวตลิ่งทรุดลง มีขยะและน้ำเน่าเสีย 4. แนวทางการบริหารจัดการน้ำท่วมชุมชนเมือง (อำเภอเมืองอุบลราชธานีและอำเภอวารินชำราบ) 3 ระยะ ตามหลัก 2P2R กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่นเดียวกับการจัดการน้ำท่วมของจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดลพบุรีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการน้ำท่วมในพื้นที่พาณิชยกรรมของจังหวัดอุบลราชธานี คือ ระยะก่อนเกิดภัย ระยะระหว่างเกิดภัย และระยะหลังการเกิดภัย 1) ควรเพิ่มขั้นตอนการป้องกันและลดผลกระทบในเชิงรุกมากขึ้น เนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี รวมถึงการทบทวนและประเมินผลการจัดตั้งโครงสร้าง กลไกการจัดการภัยพิบัติของแต่ละชุมชนเพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 2) ควรเตรียมแผนการดำเนินงานป้องกัน บรรเทา แก้ไข และฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งระดับของเตรียมการเป็น 4 ระดับ คือ ระดับจังหวัด ระดับลุ่มน้ำ ระดับอำเภอ และระดับท้องถิ่น รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการเตือนภัยในพื้นที่ต้นน้ำ 3) จัดทำข้อมูลสารสนเทศด้านการบริหารจัดการสาธารณภัย เป็นฐานข้อมูลด้านน้ำท่วมให้สมบูรณ์ ทันสมัย สามารถเชื่อมต่อระบบข้อมูลได้ในระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) จัดตั้งกองทุนจัดการภัยพิบัติ ที่มีงบประมาณจากทั้งอปท. และชุมชนสมทบโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
Flood management guidelines suitable for urban commercial communities were examined in a case study of Ubon Ratchathani Province, northeastern Thailand. The objective was to know the cause and severity level of flooding and urban flooding problems in Mueang Ubon Ratchathani and Warin Chamrap District, Ubon Ratchathani as well as setting guidelines to manage urban community flooding quickly, appropriately, and efficiently. Qualitative research was done. Data was gathered from documents (documentary study) about; General conditions of Mueang Ubon Ratchathani District and Warin Chamrap District to know the types, causes and factors that cause the flood. And the effects of the flood on 3 sides including environmental, economic and social aspects; Case study conclusions about successful solutions to domestic flood problems in Nakhon Ratchasima and Lopburi Province and floods abroad in Malaysia compiling flood reports in Ubon Ratchathani Province; Collecting interviews and opinions of the people in the Muang Ubon District Warin Chamrap District And interviews from officials of the Disaster Prevention and Mitigation Office to know the nature of the flood Characteristics of the damage value in urban areas of Mueang Ubon Ratchathani District and Muang Warinchamrap District and Flood contingency plans, unrestricted water flow, and mudslides in Ubon Ratchathani Province in 2019. Results: 1. Flooding in Ubon Ratchathani Province urban areas is not caused by rainfall, but the terrain and situation of the province at the end of the two rivers, the Mun River and Chi River. This results in heavy rain at the source, with large amounts of water from the upper river flowing down and flooding. This generally occurs in large rivers, causing flooding at the bottom of the riverbank’s lower bank. The province’s economic areas are especially affected, including Mueang Ubon Ratchathani District and Warin Chamrap District, including expansion of the city as a hotel and resort center. A conceptual model of seasonal flooded forest management or Pa Bung-Pa Tham Management (PBPTM) by community-based management acts like a mangrove forest in the northeast to slow and alleviate flooding problems. Our Loss Is Our Gain acts to slow down the water disappear. Causing the water to flood the communities along the Mun River. 2. The nature and value of urban area flood damage, mostly to public utilities such as bridges, roads, houses, fire poles, temples, and hospitals. 3. Economic impact of the flood, with income deprival for commercial area potters working in the Ban Chang Mo community, unable to make products for sale due to forced shelter evacuations. Production equipment cannot be manufactured, leading to insufficient family incomes and extra expense for relocating family possessions. This creates post-flood family debt problems averaging between 3,000 - 6,000 baht monthly. Socially, most villagers are impoverished. At times of flooding, unstable houses suffer wind damage. Damaged windows and eroded doors, rusted bolts, and houses located near river banks collapse due to landslides. Environmentally, most village community roads are paved. When flood waters subside, asphalt cracks, causing uneven roads and travel impediments. Riverside communities experience collapsed river banks, causing houses near the banks to relocate out of fear of landslides, as well as garbage and sewage flow. 4. Urban flood management guidelines (Mueang Ubon Ratchathani District and Warin Chamrap District) have three stages according to the principle of 2P2R, Department of Disaster Prevention and Mitigation The same applies to flood management of Nakhon Ratchasima and Lopburi provinces to apply in flood management in commercial areas of Ubon Ratchathani Province.: before, during, and after disasters. These should: 1) increase protective measures and reduce impacts more proactively because Ubon Ratchathani Province has repeated annual floods. Each community’s disaster management mechanism structural establishment should be reviewed and evaluated to match current situations; 2) systematic action should be prepared to prevent, mitigate, remediate, and rehabilitee issues. Preparation should be divided into four levels: provincial, basin, district, and local, including increasing upstream area alarm efficiency; 3) providing complete and up-to-date flooding disaster database, connecting data systems among relevant departments; 4) establish a disaster management fund with budgets from local authorities and associated communities to allow management participation.