Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
พฤติกรรมการลดใช้ถุงพลาสติกของพนักงานในศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
Title
Behavior of Plastic Bags Use Reduction of Employees Working in Chaeng Watthana Government Complex, Laksi District, Bangkok
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักต่อปัญหา รวมถึงทัศนคติการลดใช้ถุงพลาสติกของพนักงานภายในศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดใช้ถุงพลาสติกของพนักงานจากร้านค้าภายในศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ 3) เพื่อเสนอแนวทางการปรับพฤติกรรมในการการลดใช้ถุงพลาสติกของพนักงานภายในศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ทำการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างกับ พนักงานภายในศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ จำนวน 100 คน แบบบังเอิญ วิเคราะห์โดย ค่าเฉลี่ย t-test F-test และ Pearson’s correlation และนำกรณีศึกษาจากหน่วยงานที่มีโครงการลดใช้พลาสติก จำนวน 10 ที่ มาเป็นตัวอย่างเสนอแนวทางลดการใช้ถุงพลาสติก จากนั้นนำข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณมาวิเคราะห์เนื้อหาใช้ SWOT Analysis เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และโอกาส ใช้ TOWS เพื่อกำหนดกลยุทธ์และเสนอแนะแนวทางในการปรับพฤติกรรมการลดใช้ถุงพลาสติกของพนักงานในศูนย์ราชการ จากผลการวิจัยพบว่าพนักงานมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการคัดแยกขยะพลาสติก ว่าขยะพลาสติกต้องมีการคัดแยกและรีไซเคิลก่อนจึงจะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งเกิดจากการรับรู้ผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้พนักงานมีความตระหนักว่าสามารถมีส่วนช่วยในการลดใช้ถุงพลาสติกได้จากการที่พกถุงผ้าหรือบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำได้ อยู่ในระดับสูง โดยด้านทัศนคติของพนักงานเห็นด้วยอย่างยิ่งเกี่ยวกับการลดใช้ถุงพลาสติกต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน อยู่ในระดับที่สูง ส่งผลให้พฤติกรรมของพนักงานที่ปฏิเสธไม่รับถุงพลาสติกเมื่อซื้อสินค้าเป็นประจำอยู่ใน อยู่ในระดับที่สูง ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการลดใช้ถุงพลาสติกพบว่าลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความตระหนัก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แนวทางการส่งเสริมกลยุทธ์เชิงรับคือการจัดให้มีหน่วยงานที่หน้าที่รับผิดชอบเรื่องการจัดการขยะ เข้ามาดำเนินการ พร้อมทั้งจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่อรณรงค์การลดใช้ถุงพลาสติก และการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี รวมถึงจัดกิจกรรมให้แต่ละหน่วยงานได้มีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อลดขยะสะสม กลยุทธ์เชิงป้องกันคือ การกำหนดให้ร้านค้าในศูนย์ราชการยกเลิกการใช้ถุงพลาสติก และให้พนักงานหันมาใช้วัสดุที่สามารถใช้ซ้ำได้แทน หรือร้านค้าใช้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีความหลากหลาย มีราคาที่เหมาะสม ง่ายต่อการกำจัด และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ เพื่อตอบสนองต่อการใช้ชีวิตประจำวันของพนักงานที่เร่งรีบตามโรทแมพของรัฐบาล ภายใต้โครงการที่รณรงค์ ให้พนักงาน ลดการรับ และลดการใช้ถุงพลาสติก
Abstract
This study aims to 1) explore knowledge, awareness, and attitude of the employees working in the Government Complex toward the reduction of plastic bags; 2) examine factors affecting behavior of plastic bag reduction of the employees in the Government Complex; 3) provide suggestions on the behavior adaptation in reducing the use of plastic bags of the employees in the Government Complex. The study was conducted using questionnaires survey of 100 employees who work in the Government Complex. By the accidental sampling. The t-test, F-test, and Pearson’s correlation were used for the statistical analysis. In addition, 10 case studies of organizations implementing plastic reduction projects were examined. The content analysis was conducted in the overall result; SWOT Analysis was used to assess strength, weakness, opportunity, and threat; TOW Matrix was then used to identify strategies and provide recommendations on how to behavior adaptation in plastic bags reduction. The Study found that the employees have high level of knowledge and understanding on plastic waste be first sorted and recycled before reusing through newspapers and television. They have high level of awareness on their roles in plastic bag reduction by carrying tote bag or reusable containers. Their attitude was high as they strongly agreed that plastic bag reduction required cooperation from every sectors, including public, private, and local community. These factors contribute to the behavior of the employees of refusing plastic bag when go shopping. Personal factors, and awareness, significantly affect the employee’s behavior on plastic bag reduction at 0.05. The results from the content analysis found that the Reactive Strategy Promotion is the establishment of a department responsible for waste management operation including graphic info design for plastic bag use reduction campaign and correct method for waste separation. In addition, the department also has to establish a collaborative activity on the waste separation between bureaus to reduce the collective waste at the starting point of waste production. The Preventive Strategy is also the regulation of the stores in the government complex to cancel all of the plastic using and return to use recyclable material, green/environmental friendly container, reasonable price, easy to dispose and biodegradable to support the daily works of the public officers according to the government campaign that encourages the employees to reduce the plastic use.