การใช้ และการจัดการพลาสติก จากการสั่งอาหารแบบจัดส่งถึงบ้าน ในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
Using and management of plastics from food delivery to home in Khlong San, Bangkok
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจประเภท และสัดส่วนของพลาสติกจากการสั่งอาหารแบบจัดส่งถึงบ้าน 2) เพื่อสำรวจและอธิบายแนวทางการจัดการพลาสติกจากการสั่งอาหารแบบจัดส่งถึงบ้าน และ3) เสนอแนะมาตรการในการใช้และการจัดการพลาสติกจากการสั่งอาหารแบบจัดส่งถึงบ้าน ในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม รวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้ใช้บริการสั่งอาหารแบบบริการจัดส่งถึงบ้าน จำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ สัดส่วน แบบตารางไขว้ (Crosstab) และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Chi-square ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67 มีอายุอยู่ในกลุ่ม Gen Y (อายุระหว่าง 21-37 ปี) ร้อยละ 64 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 73 ประกอบอาชีพ รับราชการ พนักงานของรัฐหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 54 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-30,000 บาท ร้อยละ 64 จำนวนครั้งที่สั่งอาหารแบบจัดส่งถึงบ้าน 1-4 ครั้ง ร้อยละ 59 จำนวนเงินที่ใช้ในการสั่งอาหารแต่ละครั้งโดยเฉลี่ย น้อยกว่า 300 บาท ร้อยละ 49 ใช้บริการรับส่งอาหารกับผู้ให้บริการจัดส่งอาหารประเภท Grab food ร้อยละ 30 จ่ายเงินค่าบริการรับส่งอาหารต่อครั้ง น้อยกว่า 60 บาท ร้อยละ70 ใช้บริการสั่งอาหารจาก ร้านอาหารทั่วไป ร้อยละ 39 มีการใช้พลาสติกจากการสั่งอาหารแบบบริการรับส่งถึงบ้าน แบ่งเป็น 9 ประเภท คือ ถุงพลาสติกหูหิ้วมากที่สุด รองลงมาคือกล่องพลาสติก ถุงร้อนใส่อาหาร หลอดพลาสติก แก้วพลาสติก กล่องโฟม ช้อนส้อมพลาสติก พลาสติกใส่เครื่องปรุง และขวดน้ำพลาสติก คิดเป็นสัดส่วน 0.23 : 0.15 : 0.14 : 0.11: 0.10 : 0.08 : 0.07 : 0.07 : 0.04 ของพลาสติกทั้งหมด จัดการพลาสติกด้วยวิธีการทิ้งรวมกับขยะทั่วไปมากที่สุดร้อยละ 33.5 รองลงมาคือการนำมาใช้ซ้ำอย่างน้อยหนึ่งครั้ง หรือนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ร้อยละ 21.5 และปฏิเสธการรับพลาสติก ร้อยละ18 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ระดับการศึกษา และอายุ สัมพันธ์กับการใช้พลาสติก และเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้สัมพันธ์กับการจัดการพลาสติกที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากผลการศึกษาพบว่าพลาสติกที่เกิดจาการสั่งอาหารแบบบริการส่งถึงบ้านส่วนใหญ่จะถูกทิ้งรวมกับขยะทั่วไป โดยไม่มีการคัดแยกหรือนำกลับมาใช้ใหม่ จึงได้เสนอแนะมาตรการในการจัดการพลาสติกจากการสั่งอาหารแบบส่งถึงบ้าน ตามหลัก 3 R (Reduce) (Reuse) (Recycle)โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งประชาชนผู้ใช้บริการ ร้านจำหน่ายอาหาร ผู้ให้บริการรับส่งอาหาร และหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลการจัดการพลาสติก เพื่อให้เกิดการใช้และการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน
The objective of this study is to 1) survey the types and proportions of plastic from food delivery, 2) to survey and explain guidelines for management plastic from food delivery, and 3) suggest measures for using and management of plastic from food delivery in Khlong San, Bangkok Is a survey research data were collected by using questionnaires. Data were collected with 100 food delivery service users using convenient sampling methods. Data were analyzed using frequency, percentage, proportions, crosstab and hypothesis testing using Chi-square statistics. The study found that Most of the respondents are female, 67% are in the Gen Y (age between 21-37 years), 64% have a bachelor's degree or equivalent, 73% are civil servants, government employees or state enterprise employees. 54 having an average income per month 10,001-30,000 baht, 64 percent. Number of orders delivered to home delivery 1-4 times, 59 percent. Average amount of money ordered for each order is less than 300 baht. 49 percent use food delivery services with 30% Grab food delivery service providers pay less than 60 baht for food delivery per time. 70% use food delivery service from Most restaurants, 39%, use plastic from food delivery order, divided into 9 types which are plastic bags, most handles Next is the plastic box. Heat bags for food, plastic tubes, plastic glass, foam boxes, plastic spoon plastic fork and plastic water bottles The proportion of 0.23: 0.15: 0.14: 0.11: 0.10: 0.08: 0.07: 0.07: 0.04 of all plastics. 33.5% of all plastics were treated with general waste, followed by reuse at least once. Or for other uses, 21.5% and rejecting plastic 18%. Hypothesis testing found that education level and age were related to plastic usage and sex, education level, occupation and income were related to plastic management at the level of significant 0.05. From the results of the study, it was found that most plastic orders from home food delivery service were was discarded with general waste without separating or recycling Therefore, it has suggested measures to manage plastic from home-based food ordering according to 3 R (Reuse) (Reduce) (Recycle), with the cooperation of all sectors. Both people who use the service food store food delivery service providers and government agencies that supervise plastic management for the sustainable use and management of plastics