Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
การวิเคราะห์ปัญหากฎหมายในการจัดการขยะจากการนำเข้าสินค้ามือสอง กรณีศึกษา : เทศบาลเมืองอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
Title
Legal problem analysis In waste management From imports Second hand products Case study : Aranyaprathet Municipality Aranyaprathet District Sa Kaeo Province
บทคัดย่อ
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อทราบสถานการณ์ปัญหาขยะที่มาจากสินค้ามือสอง ของเทศบาลเมืองอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อทราบแนวคิด หลักการ ทฤษฎี ที่ใช้เป็นฐานคิดในการจัดการขยะจากสินค้ามือสอง 3) เพื่อทราบและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะจากสินค้ามือสองในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองอรัญประเทศ 4) เพื่อวิเคราะห์ปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะจากสินค้ามือสอง ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองอรัญประเทศ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยมีคำถามการวิจัยดังนี้ 1) สถานการณ์ปัญหาขยะที่มาจากสินค้ามือสอง ของเทศบาลเมืองอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นอย่างไร 2) การจัดการขยะจากสินค้ามือสองตั้งอยู่บนฐานแนวคิด หลักการ ทฤษฎีใดบ้าง 3) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะจากสินค้ามือสอง ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองอรัญประเทศ มีลักษณะเป็นอย่างไร เพียงพอหรือไม่ 4) ปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะจากสินค้ามือสอง ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองอรัญประเทศ เป็นอย่างไร และมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างไร การดำเนินการศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร ซึ่งได้มีการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม, ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้รถยนต์ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2562, พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม, พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงเอกสาร ทางวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ปัญหาขยะที่มาจากสินค้ามือสองของเทศบาลอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เกิดปัญหาจากการนำสินค้ามือสองที่ด้อยคุณภาพ เมื่อนำเข้ามาแล้วบางส่วนสามารถนำไปขายได้ และบางส่วนไม่สามารถนำไปขายได้ จึงเกิดปัญหาการลักลอบนำไปทิ้งตามที่สาธารณะหรือตามพื้นที่ป่า หรือลักลอบนำมาทิ้งรวมกับขยะมูลฝอยในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นภาระต่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองอรัญประเทศ ทำให้สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองอรัญญประเทศ ในแต่ละปีมีจำนวนขยะตกค้างสะสมเป็นจำนวนมาก งบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยตกค้างไม่เพียงพอ และเกิดประเด็นปัญหาพื้นที่บ่อขยะไม่เพียงพอที่จะเก็บสะสมขยะที่จะมีในอนาคตและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแนวทางการจัดการขยะจากสินค้ามือสองสามารถนำแนวคิดหรือทฤษฎีด้านการจัดการขยะ มูลฝอยอย่างครบวงจรมาใช้ในการคัดแยกและกำจัดได้ และยังสามารถนำหลักการระวังไว้ก่อน หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย และหลักความรับผิดชอบ เข้ามาช่วยวางแผนในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาขยะที่มาจากสินค้ามือสองได้อีกด้วย ทั้งนี้จากการค้นคว้าข้อมูลมาตรการทางกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะจากสินค้ามือสอง ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองอรัญประเทศ ก็ยังไม่พบการบัญญัติกฎ ระเบียบใด เข้ามารองรับกับการจัดการปัญหาขยะจากสินค้ามือสองเหล่านี้เลย และจากการศึกษาวิจัยนี้ก็ค้นพบว่าควรเริ่มแก้ปัญหาจากต้นทางตั้งแต่การนำเข้าสินค้าเข้ามา ในประเทศ โดยอาศัยพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ที่สามารถอาศัยอำนาจในการออกมาตรการทางกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้ามือสองที่ด้อยคุณภาพได้ โดยบูรณาการงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานกระทรวงจนถึงหน่วยงานในท้องถิ่น เพื่อให้มุมมองของการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยผู้รับผิดชอบหลักในพื้นที่ คือราชการส่วนท้องถิ่นให้มีหน้าที่ในการจัดการกับปัญหาการกำจัดขยะจากสินค้ามือสอง โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์ สอดส่อง เฝ้าระวัง และปฏิบัติหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาตามที่กฎหมายได้วางอำนาจไว้ สารนิพนธ์นี้จึงขอเสนอแนะว่า ในประเด็นการแก้ไขปัญหาขยะจากสินค้ามือสองนั้นควรเริ่มแก้ไขตั้งแต่ต้นทางโดยการออกมาตรการทางกฎหมาย โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ออกประกาศห้ามนำเข้าสินค้ามือสองที่ด้อยคุณภาพไม่สามารถนำมาใช้งานได้ และราชการส่วนท้องถิ่นต้องออกกฎระเบียบมาใช้บังคับเป็นการเฉพาะ และจัดให้มีสถานที่ทิ้งขยะแยกตามประเภทของสินค้ามือสองด้วย เพื่อง่ายต่อการจัดการ
Abstract
The objective of this thesis is to 1) To know the situation of waste from second-hand products of Aranyaprathet Municipality, Sa Kaeo Province. 2) Know the concepts, principles and theories that are used as a basis for waste management from second-hand products. 3) To know and analyze legal measures regarding waste management from second-hand goods in Aranyaprathet municipality. 4) Analyze legal problems related to waste management from second-hand products in Aranyaprathet municipality and suggest solutions. With research questions as follows 1) What is the situation of waste from second-hand products of Aranyaprathet Municipality, Sa Kaeo Province? 2) What is the basis of waste management from second-hand goods? 3) What are legal measures related to waste management from second-hand goods in Aranyaprathet municipality? 4) Legal issues regarding waste management from second-hand goods in Aranyaprathet municipality And how to solve the problem? This research study is a qualitative study. With document research. Has been compiled from various sources, namely. Export and Import Act into the Kingdom In which the product was 1979 and modified, Notification of the Ministry of Commerce regarding the requirements on used cars being prohibited or having to request importation into the Kingdom 2019, National Cleanliness and Order Act 1992 and amendments, Public Health Act 1992 and amendments. Including other relevant academic documents. The study found that The situation of waste from second-hand products of Aranyaprathet Municipality, Sa Kaeo Province has a problem when using second-hand products. Once imported, some parts can be sold. And some parts cannot be sold. The problem of illegal waste disposal in public areas or forest areas or smuggled together with waste in community waste disposal areas without permission. Which is a burden to the waste management of Aranyaprathet Municipality. Each year, there is a lot of accumulated waste. Insufficient budget for waste management. And the problem of landfill space is not enough to collect the garbage that will have in the future and will increase continuously. In which waste management from second-hand products can include concepts or the theory of waste management to be used to manage And can also apply the principles Precautionary Principle : PP, Polluter Pays Principle : PPP and Responsibility came in to help plan the operation, solve the problem of waste from second-hand goods as well. From researching legal measures related to waste management from second-hand products. In the Aranyaprathet municipality area Still not found any rules and regulations come in to support the management of waste from these second-hand products. And from this research, found that the problem should start from the beginning of importing products into the country. By virtue of the Export and Import Act into the Kingdom in 1979 Which can increase the capacity to issue legal measures to prohibit the import of inferior used products. By integrating together between the Ministry and the local department. To make the view of operations in the same direction. By the main responsible person in the area The local government is responsible for dealing with the problem of waste disposal from second-hand products. By virtue of the National Cleanliness and Orderliness Act 1992 and the Public Health Act 1992 Coordinate relevant departments in the area. Publicize, monitor, and perform duties in resolving problems as the law has stipulated. This thesis would like to suggest that Issues to solve the problem of secondhand waste should be started from the beginning by issuing legal measures. By the Minister of Commerce with the approval of the Cabinet Law announced by the Ministry of Commerce Announcing the prohibition of importing second hand, inferior quality products that cannot be used. And local governments must issue specific regulations and provide a waste disposal area by type of second-hand goods as well For easy handling.