ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสระบุรี
Factors Influential affecting the efficiency of Infections Waste Management Of Public Health’s Personnel in Community Hospitals, Saraburi Province.
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ โดยวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และเพื่อหาวิธีการหรือมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ทั้ง 10 โรงพยาบาล ในจังหวัดสระบุรี จำนวน 346 คน ซึ่งทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยสอบถามในประเด็นที่เกี่ยวข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน ความรู้ การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ การวิเคราะห์ความแตกต่างของตัวแปร ใช้ค่าสถิติค่าเฉลี่ย x̄ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบค่า (t-test) แบบ independent t-test ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สิติ Person Correlation ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลชุมชน ทั้ง 10 โรงพยาบาล ในจังหวัดสระบุรี ร้อยละ 85 เป็นเพศหญิง มีสถานภาพ โสด ร้อยละ 60.6 และเป็นผู้ที่มีอายุ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 38.5 มากเกินกว่าครึ่งมีการศึกษาในปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 69.4 ตำแหน่งหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 39.7 ส่วนใหญ่มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานหรือรับราชการ 1-5 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.7 และเกินกว่าครึ่งมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ1-5 ปี คิดเป็นร้อยละ 70.9 ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรมในเรื่องการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ ร้อยละ 55 ทั้งนี้ยังพบว่า บุคลากรสาธารณสุขที่มีอายุและเพศแตกต่างกัน มีระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อไม่แตกต่างกัน และ บุคลากรสาธารณสุขที่มีระดับการศึกษาและระยะเวลาการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับการสำรวจความรู้ของบุคลากรสาธารณสุขเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พบว่ามากกว่าเกินครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 76.5 ร้อยละ 21.5 มีความรู้ระดับสูง และ ร้อยละ 2.1 มีความรู้ระดับต่ำ โดยผู้ปฏิบัติมีความรู้ในขั้นตอนการรวบรวมมูลฝอยและการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลน้อยกว่าขั้นตอนอื่นๆ และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความรู้และการปฏิบัติ พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคของผู้ปฏิบัติงาน พบว่ามีคะแนนในระดับสูง แสดงให้เห็นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้ปฎิบัติงานและจากการค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผลการสำรวจพบว่า ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานระดับสูง นอกจากนี้ยังพบว่าแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
This research was conducted to evaluate the efficiency of infectious waste management of the public health’s personnel in Community Hospitals, Saraburi Province. Analyzing the relationships of various factors affecting the efficiency of infectious waste management. Find suitable methods or measures for managing infectious waste of public health personnel in community hospitals. The samples were 346 of public health’s personnel working in Community Hospitals, Saraburi Province. The descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation were employed in the study. Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient was used to reveal the relationship between the factors studied and the infectious waste management efficiency. It was found from the survey that 85% of the public health personnel in the study area are female. 60.6 are Single and 38.5 % years old Less than or equal to 30 years. More than half graduated in the bachelor's degree of 69.4 % and 39.7% of them were nurse 44.7 %.working 1-5 years. More than half had the experience in infectious waste 1-5 years was 70.9%. Most of them never received training on prevention and suppression of spread or danger caused by infectious waste 55%. The results showed that Public health personnel with different age and gender There is not difference in the level of practice concerning infectious waste management were statistical significance at the level of 0.05. And public health personnel with different educational levels and working periods. There are different levels of practice in managing infectious waste were statistical significance at the level of 0.05. The samples had moderate, high and low levels of knowledge in the infectious waste management at 76.5 %, 21.5 %, and 2.1% respectively. Furthermore, the samples had the knowledge in the collecting step and use personal protective equipment less than others. The results from the Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient test illustrated that the level of knowledge in the infectious waste management and the opportunity of public health‘s personnel to acquire new knowledge in the risk of disease occurred from infectious waste was low significant to the infectious waste management at 0.01 level. The level of motivation to work was high, however, it was not significant to the efficiency of the infectious waste management.