ก้าวสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนในการจัดการขยะชุมชนบนเกาะสีชัง
Towards a circular economy in municipal waste management on Sichang island
ขยะบนเกาะ เป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญในการจัดการขยะมูลฝอยด้วยสภาพพื้นที่ที่แยกจากแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะเกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมักพบขยะตกค้างสะสมบนเกาะจำนวนมาก เกาะสีชัง เป็นเกาะที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดชลบุรี มีการขยายตัวและการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งอาจตามมาด้วยปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2570) ได้มีการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ในการจัดการขยะมูลฝอย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาห่วงโซ่คุณค่าการจัดการขยะชุมชนบนเกาะสีชัง และวิเคราะห์การจัดการขยะชุมชนบนเกาะสีชังตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลเกาะสีชัง ผู้ประกอบการที่พัก กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการขยะชุมชนบนเกาะสีชัง และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าเกาะสีชัง อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลเกาะสีชัง ซึ่งมีการจัดการขยะชุมชนด้วยการส่งเสริมการลดและคัดแยกขยะที่ต้นทางโดยการใช้หลักการ 3Rs ใช้น้อย (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มีการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยแบบแยกประเภท และกำจัดขยะโดยเผาในเตาเผาขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังพบหน่วยงานอื่นที่เข้ามาศึกษาและให้การสนับสนุนการดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะชุมชนที่เกิดขึ้นบนเกาะสีชัง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา รวมถึงประชาชนหลากหลายกลุ่ม การจัดการขยะชุมชนบนเกาะสีชังสามารถแบ่งกิจกรรมตามห่วงโซ่คุณค่าการจัดการขยะชุมชนได้เป็นการจัดการขยะที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดยมีเพียงห่วงโซ่คุณค่าการจัดการขยะอาหาร และขยะรีไซเคิลเท่านั้นที่มีการหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ ในการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการจัดการขยะชุมชนเห็นได้เด่นชัดในห่วงโซ่คุณค่าการจัดการขยะรีไซเคิล ซึ่งมีการสร้างรายได้จากการขายขยะรีไซเคิล เป็นรายได้ครัวเรือน และกระจายรายได้สู่ชุมชนเกิดแรงจูงใจในการคัดแยกขยะรีไซเคิลของคนในชุมชน ทั้งยังมีส่วนช่วยในการรวบรวมขยะรีไซเคิลกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ โดยความร่วมมือของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนบนเกาะสีชัง แต่ยังไม่พบกิจกรรม Upcycling ที่นำขยะมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าจำหน่ายบนเกาะสีชัง และขยะชุมชนยังมีลักษณะทิ้งรวม ซึ่งถูกส่งไปกำจัดที่ปลายทางในการก้าวสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ในการจัดการขยะชุมชนบนเกาะสีชัง หากจะให้มีการดำเนินการที่ต่อเนื่องและชัดเจนยิ่งขึ้นควรมีการคำนึงถึงช่องทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะชุมชนบนเกาะสีชัง ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการนำเข้าวัสดุมายังเกาะ เพื่อลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้น การรับคืนบรรจุภัณฑ์ของร้านค้า การแปรรูปขยะอาหาร ขยะรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับชุมชน เพื่อสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะและหมุนเวียนวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดภาระการขนส่งขยะรีไซเคิลกลับไปยังฝั่ง รวมถึงลดปริมาณขยะที่จะถูกส่งไปกำจัดที่ปลายทาง
Garbage on the island is one of the significant problems in solid waste management due to its being secluded from the mainland, especially in areas of the island that attract tourist attractions where large amounts of garbage are regularly found. Sichang Island is a popular tourist destination in Chonburi province and has witnessed an expansion because of the growth of the tourism industry, leading to a corresponding growth in solid waste production. The 2nd National Action Plan on Waste Management (2022-2027) has adopted the concept of the circular economy to manage solid waste effectively. This research endeavored to investigate the municipal waste management value chain within Sichang Island and assess municipal waste management by applying circular economy principles. The study employed a qualitative Research. Data were collected through interviews with key informants, including officials from the Department of Public Health and Environment at Ko Sichang Municipality, accommodation operators, and stakeholders for municipal waste management on Sichang island. Non-participant observation and the study of relevant documents were also utilized. The study revealed that Sichang Island lies within the jurisdiction of the Ko Sichang Municipality, which implements municipal waste management by encouraging waste reduction and segregation at the source through applying the 3Rs principle, i.e., reduce, reuse, and recycle. A separate garbage collection service was implemented on Sichang Island, utilizing an incinerator to dispose of waste. In addition, various government and private sector agencies, educational institutions, along with other groups provided their support to address municipal waste issues that had occurred. Municipal waste management on Sichang Island can be divided into activities along the municipal waste management value chain, including waste management at the source, middle, and destination. However, only the food waste management value chain and recyclable waste materials were circulated for utilization. The implementation of the circular economy concept in municipal waste management was displayed in the recycling waste management value chain. Income was generated through the sale of recycled waste and distributed to the community, providing incentives for separating recyclable waste. Recyclable waste was then collected and integrated into the new production process, involving multiple stakeholders, for instance, governmental organizations, private companies, educational institutions, and the people of Sichang Island. Despite this, Sichang Island did not have any upcycling activities to convert waste into saleable products, and waste was instead disposed of collectively at a nominated destination. To move municipal waste management towards a circular economy, there should be consideration of reducing the Sichang Island waste management expense burden through more continuous and precise action. It is essential to consider measures to minimize waste management costs on Sichang Island, including limiting the import of materials to reduce the amount of waste generated, storing packaging returns, and processing food waste. Recycled waste could be utilized as a community revenue source, incentivizing waste segregation and recycling of materials for optimal benefit. This would lower the need to transport the waste back to shore and the amount of waste requiring disposal at the destination.