Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
พื้นที่การระบาดซ้ำซากของโรคไข้เลือดออก เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
Title
Repetitive Outbreak Area of Dengue Fever,Thonburi District, Bangkok
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกกับความหนาแน่นของประชากร 2) เพื่อศึกษาตำแหน่งครัวเรือนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ระหว่างปี พ.ศ.2558 – 2562 3) เพื่อศึกษาพื้นที่การเกิดโรคไข้เลือดออกซ้ำซากใน 5 ปี (ปี พ.ศ. 2558 – 2562 ) และ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกเชิงพื้นที่ ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้ได้ทบทวนวรรณกรรม เพื่อกำหนดศึกษาการระบาดของโรคในพื้นที่ศึกษา จากนั้นได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) และข้อมูลเชิงอรรถอธิบาย (Attribute data) จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความหนาแน่นของประชากรและความซ้ำซากของการเกิดโรคระบาด ระหว่างปี พ.ศ.2558 – 2562บนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า สามารถแบ่งออกได้ 3 ระดับ คือ พื้นที่การระบาดซ้ำซากของโรคไข้เลือดออกสูง ปานกลาง และต่ำ โดยแขวงบุคคโล แขวงดาวคะนองและแขวงตลาดพลู พบเนื้อที่การระบาดซ้ำซากของโรคไข้เลือดออกสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 0.78 0.68 และ 0.33 ของเนื้อที่ของแต่ละแขวงตามลำดับ นอกจากนั้นพบช่วงเวลาของการระบาดซ้ำซากของโรคไข้เลือดออกสูงอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคม – มกราคม โดยสูงที่สุดในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ดังนั้นช่วงเวลาในการป้องกันโรคจะต้องเป็นช่วงก่อนการเกิดโรคในช่วงเดือนเมษายน – กรกฎาคม ก่อนช่วงเวลาระบาดมากโดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นแล้วในพื้นที่เสี่ยงสูงและปานกลางนั้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรมีการลงพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการปรับปรุงข้อมูลสำหรับวิเคราะห์การเกิดโรคซ้ำซากของไข้เลือดออกนั้นควรมีการดำเนินการทุกปี เพื่อประเมินมาตรการการป้องกันของแต่ละพื้นที่
Abstract
The objective of this study were to 1) study the relationship between dengue fever patients and population density 2) to study the location of dengue hemorrhagic fever patients between 2015-2019 3) to analyze repetitive outbreak area of Dengue fever during 2015 – 2019 and4) to recommendprevention and control guidance of dengue fever spread in Thonburi District,Bangkok.The methodology included related literature review, collection of relevant primary and secondary data both spatial and attribute data from various sources andanalyze the relationship of population density and the repetition of the disease between 2015 - 2019 byGeographic Information System (GIS). The study showed that the repetitive outbreak area of Dengue fever during 2015 – 2019 can be divided into 3 levels: high, moderate and low.Bukkhalo, Daoknong and Taladplu sub-districts covered most repetitive outbreak of dengue fever, representing 0.78, 0.68 and 0.33 percent of each sub-district area, respectively. In addition, the epidemic period of high dengue fever was observed between August – January and the highestwasin November every year. Therefore, the period of disease prevention must be before the disease outbreak which was in April – July by controlling mosquito breedingcontinuously. In moderate risk area, the control practice should be done regularly. The improvement of data for repetitive disease analysis should be conducted every year to assess the protection measures of each area.