การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการคัดเลือกพื้นที่เหมาะสม ทางกายภาพในการกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบ กรณีศึกษา : อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
AN APPLICATION OF GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEM FOR PHYSICALLY SUITABLE SOLID WASTE LANDFILL : CASE STUDY OF DOI SAKET, CHIANG MAI
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาพื้นที่เหมาะสมทางกายภาพในการกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบ ในพื้นที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยจากหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ตั้งสถานที่ฝังกลบกากของเสีย จะใช้หลักเกณฑ์ของกรมควบคุมมลพิษตาม ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 61 ง ณ วันที่ 24 เมษายน 2552 โดยผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกปัจจัยที่สำคัญ จำนวน 7 ปัจจัย ได้แก่ ชนิดดิน ความชัน เครือข่ายถนนหลัก แหล่งชุมชน แหล่งน้ำผิวดิน แม่น้ำสายหลัก และเขตอนุรักษ์ นำมาวิเคราะห์ตามหลักการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ (Potential Surface Analysis หรือ PSA) และเทคนิคการซ้อนทับข้อมูล (Overlay Analysis) จากการศึกษาพบว่าพื้นที่เหมาะสมทางกายภาพในการกำจัดขยะด้วยวิธีฝังกลบ ของอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ สามารถแบ่งออกได้ 4 ระดับ คือ พื้นที่ที่ไม่เหมาะสม พื้นที่ที่เหมาะสมน้อย พื้นที่ที่เหมาะสมปานกลาง และพื้นที่ที่เหมาะสมมาก วิเคราะห์เฉพาะปัจจัย 6 ปัจจัย ไม่รวมเขตอนุรักษ์ พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีความเหมาะสมมาก ร้อยละ 35.85 รองลงมา คือ เหมาะสมปานกลาง ร้อยละ 22.92 และไม่เหมาะสม ร้อยละ 21.64 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาร่วมกับเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนแม่กวง พบว่า คงเหลือพื้นที่ส่วนใหญ่ที่มีความเหมาะสมมาก ร้อยละ 21.44 รองลงมา คือ พื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 19.02 และพื้นที่ที่เหมาะสมปานกลาง ร้อยละ 18.25 ตามลำดับ การศึกษาหาพื้นที่เหมาะสมในการกำจัดขยะมูลฝอยด้วยวิธีฝังกลบนี้ เป็นการศึกษาปัจจัยทางกายภาพ ไม่มีการรวมปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม การมีส่วนร่วม เช่น ราคาที่ดิน กรรมสิทธิ์ที่ดินในการวิเคราะห์ เป็นต้น ดังนั้น หากมีการศึกษาเพิ่มเติมควรนำปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม และการมีส่วนร่วม มาพิจารณาร่วมด้วย รวมไปถึงควรมีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ประกอบการพิจารณาด้วย ควรมีการศึกษาเรื่องทิศทางของลมประกอบการพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ เนื่องจากอาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญจากกลิ่นในพื้นที่ชุมชนที่อยู่ห่างออกไปได้ และปัจจัยระดับน้ำใต้ดิน เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงในการหาพื้นที่เหมาะสมของแหล่งฝังกลบขยะ ผู้ที่จะนำข้อมูลไปใช้ในอนาคตจะต้องนำปัจจัยนี้มาวิเคราะห์ร่วมด้วย เป็นต้น
The purpose of this study was to find a physically suitable area for solid waste landfill Doi Saket District Chiang Mai Province by using Geographic Information System (GIS) The analysis was based on the criteria for selecting the location of the waste landfill site according to the Royal Gazette, Volume 126, Special Section 61 D As of 24 April 2009 were 7 factors were shosen for the study, namely soil type, slope, main road network, community sources, surface water sources. main river and conservation area The data were analyzed by using Potential Surface Analysis (PSA) and Overlay Analysis. From the study, it was found that physically suitable area for solid waste landfill can be divided into 4 levels: inappropriate areas less suitable area moderately suitable area and very suitable area. The results 6 factors analysis excluding conservator forest found that most areas were very suitable at 35.85%, followed by moderately suitable at 22.92% and inappropriate at 21.64% respectively, moreover the analysis included the national forest area, it was found that 21.44% of very suitable, 19.02% of inappropriate and 18.25% moderately suitable area, respectively. This study analysed only physical factors related to selection of solid waste landfill. Economic value factor, social factors and public participation were not included such as land price, land ownership in the analysis, etc. Therefore, further study, economic factors should be taken into account. Also, the public opinion survey should be done in the study area. Including there should be a survey of the people in the area for consideration. A study on wind direction should be taken into consideration when selecting an area because it may be a factor that causes nuisance from the smell to far communities. Groundwater level factors is as well important factor to consider in finding the right landfill site. Those who will use the information in the future must take this factor into analysis as well.