Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
มาตรการทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายในการลักลอบทิ้งของเสียอันตรายจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงงานอุตสาหกรรม
Title
Legal measures and law enforcement on the unlawful disposal of hazardous waste by a pollution source classified as an industrial factory
บทคัดย่อ
การศึกษา มาตรการทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายในการลักลอบทิ้งของเสียอันตรายจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงงานอุตสาหกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมาย วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ข้อบกพร่องของมาตรการทางกฎหมาย รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากฎหมายและบทกำหนดโทษ กรณีการลักลอบทิ้งของเสียอันตรายจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงงานอุตสาหกรรม การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมุ่งศึกษาและวิเคราะห์จากข้อมูลเอกสารเป็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายในการลักลอบทิ้งของเสียอันตรายจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทโรงงานอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด หน่วยงานที่มีอำนาจมีมาตรการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ล่าช้า การบังคับใช้กฎหมายในการติดตาม ตรวจสอบ กำกับดูแลโรงงานที่ก่อให้เกิดกากของเสียอันตราย และโรงงานรับบำบัด/กำจัดกากของเสียอันตรายยังไม่เพียงพอ รวมถึงระบบรวบรวม ขนส่ง และบำบัด/กำจัดของโรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีการลักลอบทิ้งกากของเสียอันตรายตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งนี้ มาตรการทางกฎหมายได้ระบุไว้ตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย แต่บทกำหนดโทษและโทษปรับยังมีมูลค่าน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ยังไม่มีความชัดเจนว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นผู้ใดจะเป็นผู้เยียวยา เนื่องจากการเยียวยาความเสียหายในสิ่งแวดล้อมต้องพิจารณาในหลายมิติเหตุที่เกิดอาจส่งผลร้ายแรงต่างกัน ความเสียหายที่ต้องชดใช้อาจจะมีมูลค่าที่สูงกว่าโทษดังกล่าว และกฎหมายในเชิงป้องกันยังไม่มีความชัดเจนโดยมีการระบุไว้อย่างกว้างๆ ว่าต้องมีแผนการป้องกันอุบัติภัยเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉิน แต่เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นการดำเนินการจัดการอาจจะไม่สามารถจัดการได้ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยครั้งนี้ คือ ถึงแม้ว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มีมาตรการจัดการของเสียอุตสาหกรรม แต่ยังพบว่าการบังคับใช้กฎหมายในการกำกับโรงงานอุตสาหกรรมในการจัดการของเสียอุตสาหกรรมยังมีความล่าช้า ควรถือเป็นภารกิจสำคัญและเร่งด่วนในการตรวจพิสูจน์และรวบรวมหลักฐานเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษต่อผู้กระทำผิด รวมทั้งให้ความร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นหรือหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมในการจัดการกับกองกากอุตสาหกรรมที่ถูกลักลอบทิ้งและบำบัดฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย
Abstract
This research aims to study the policies of legal and law about the pollution from industrial factories. Then, assess and analyze the problem, obstacles, and limitation of the legal policy. Furthermore, law enforcement is suggested about solution for the development of ensuring obedience to the laws. In term of export the hazardous waste from industrial pollution sources to environment secretly, in violation of the law that also are brought consider developing of the laws and penalties as well. This research focus on that assess and study qualitative research and analyzing from secondary data. The research has shown that the results obtained from the assessments and study that is not insufficiently efficient Because industrial factories does not strictly comply with the law. That is because of administration who related with the responsibility of delayed work measures to deal with environmental problems policy such as Follow up, inspect, and supervise factories that produce hazardous waste and pollution. Additionally, the treatment plant disposing of waste and pollution are not enough in Thailand. Including with the system of collection, transportation, treatment, and disposal of factories are insufficiently efficient as well. Therefore, these can affect a lot of hazardous wastes that are smuggled in numerous areas. So Legal Measures indicate that the 'polluter pays' principle is the commonly accepted practice that those who produce pollution should bear the costs of managing it to prevent damage to human health or the environment, but the penalties and fines are too small amount in relation to the impact on resources and the environment. However, the simple but compelling idea that the "polluter pays" comes with considerable uncertainties and ambiguities during its use. the application of polluter pays principle is limited. Because of there is no accident prevention plan to support an emergency. Also, when an emergency happens, management actions may be unmanageable. The results of this research can be used to help make decisions. Or used as information to determine the direction of sustainable development policy. Notwithstanding these limitations, Department of Industrial Works has measures to manage industrial waste. But it was also found that the enforcement of the law to regulate industrial plants in the management of industrial waste is still delayed. It must be considered an important and urgent mission. Finally, this study has found of this study have important implications for future practice. This is because; it would be beneficial for researchers and government who want to improve sustainable development policy. From Legal Measures that can help decision for proving and collecting evidence to file complaints against offenders as well as cooperate with local organization or environmental agencies to deal with smuggled industrial waste piles and to treat and rehabilitate areas contaminated with hazardous industrial waste in the future.
คำสำคัญ
มาตรการทางกฎหมาย, การบังคับใช้กฎหมาย, การลักลอบทิ้งของเสียอันตราย, แหล่งกำเนิดมลพิษ, โรงงานอุตสาหกรรม
Keywords
Legal measures, law enforcement , unlawful disposal of hazardous waste, pollution source, industrial factory