Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
ปัญหาการดำเนินการตามมาตรการควบคุมมลพิษทางน้ำ ภายใต้กฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535
Title
Problems on the implementation of Water Pollution Control under the Ministerial Regulation according to Section 80 of the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act, B.E. 2535
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการการควบคุมมลพิษทางน้ำตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินการตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และสร้างข้อเสนอแนะทางวิชาการในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินการตามกฎหมาย และส่งเสริมให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษตามกฎหมาย รวมถึงให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องสามารถบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวมรวมข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นที่พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555 และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่มีหน้าที่ตามกฎกระทรวงดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มีการบัญญัติมาตรการการควบคุมมลพิษทางน้ำโดยการกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ มาตรฐานควบคุมมลพิษทางน้ำจากแหล่งกำเนิดและกำหนดหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดให้มีมาตรการป้องกันการปล่อยของเสียออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะในรูปแบบการเก็บสถิติและข้อมูล ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555 แต่ยังพบว่ามีปัญหาในการดำเนินการตามกฎกระทรวงดังกล่าว ประการแรก คือ ตัวบทกฎหมายที่ยังมีความคลุมเครือในคำนิยามระบบบำบัดน้ำเสีย ทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประการที่สอง คือ ความไม่รู้กฎหมายของประชาชน การไม่เข้าใจขั้นตอนการดำเนินการ รวมถึงความซ้ำซ้อนของกฎหมายหลายฉบับที่ประชาชนต้องปฏิบัติ ประการที่สาม คือ การกระจายภาระงานด้านสิ่งแวดล้อมลงไปยังท้องถิ่น แต่ไม่ให้อำนาจลงไปด้วย และประการที่สี่ คือ เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษที่มีอำนาจในการติดตามตรวจสอบการดำเนินการตามกฎกระทรวงของแหล่งกำเนิดมลพิษมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับแหล่งกำเนิดมลพิษทั้งหมด ทำให้การตรวจสอบเป็นไปอย่างล่าช้า ไม่ทั่วถึง ซึ่งหากมีการออกกฎกระทรวงผู้ควบคุมตามมาตรา 73 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เพิ่มความเข้มงวดในการติดตามตรวจสอบโดยการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นหรือหน่วยงานอนุญาต ตลอดจนมีการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานจะสามารถช่วยให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น
Abstract
This study has the most important objective of studying legal measures concerning water pollution control under the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act, B.E. 2535 (NEQA) and also seeking some key problems arising out of the implementation of the ministerial regulations issued under Section 80 of the NEQA in order to provide academic recommendations for solving those problems and avoiding any legal proceedings which would encourage any owner or possessor of pollution sources to comply with the law; moreover, the solution would be applied to strengthen relevant state agencies to enforce the laws effectively. This research applied a qualitative approach collecting all sources and data from primary and secondary sources including in-depth interviews from resource persons taking responsibilities under the ministerial regulations. According to the research, the NEQA’s water pollution control measures are clearly enacted to enforce certain polluters to pollute through ambient quality standards, emissions standards and legal duties of those involved by collecting statistics and information and a summary of the results of the wastewater treatment system to the local officials. However, this research found key problems engaged in its implementation as the following issues. First, the ministerial regulations are too ambiguous to make confused and to provoke the lack of public awareness on the legal measures including problem on legal overruling. In terms of distribution of environmental workloads, it does not provide legal power to local agencies. Lastly, pollution control officials who have the power to inspect the operation under the ministerial regulations are not enough leading to the delays of inspection. It would be feasible that a ministerial regulation issued under section 73 of the NEQA would increase the rigor of the audit by decentralizing powers to local agencies and promoting information exchange among agencies
คำสำคัญ
การควบคุมมลพิษทางน้ำ, มาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535, กฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535
Keywords
Water Pollution Control, Section 80 of the NEQA, Ministerial Regulations according to Section 80 of the NEQA