พฤติกรรมการใช้สื่อกับการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับกับผู้สูงอายุ
Media use behavior and environmental communication for the eldely
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อการสื่อสารวิเคราะห์และเสนอรูปแบบการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ 80 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test และ F – test ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 60-64 ปีขึ้นไป มีระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มีสถานภาพสมรสและยังอยู่ด้วยกัน ประกอบธุรกิจส่วนตัว และพักอาศัยอยู่กับคู่สมรส ส่วนพฤติกรรมการใช้สื่อ พบว่า ส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลข่าวสารจากอินเตอร์เน็ต ใช้โทรศัพท์มือถือในการติดตามข่าวสารมากที่สุด ติดต่อกับลูกหลานเป็นส่วนใหญ่ มีการใช้เครื่องมือสื่อสารทุกวันใช้เวลา 30 นาที หรือมากกว่า และส่วนมากมีความสนใจในสื่ออินเตอร์เน็ตประเภท Facebook และ Line ความคิดเห็นที่มีต่อการสื่อสารของผู้สูงอายุ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยมากที่สุดว่าอุปกรณ์สื่อสารสามารถทำให้รับรู้ข่าวสารและพักผ่อนหย่อนใจตามความบันเทิง ส่วนความคิดเห็นที่มีต่อการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุ พบว่าความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยมากที่สุดว่าการสื่อสารช่วยให้เกิดความร่วมมือในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้เป็นอย่างดีมีระดับ รองลงมาคือ การสื่อสารผ่านการประชาสัมพันธ์ในชุมชนดำเนินการได้เป็นอย่างดี การสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุคือ โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุมากที่สุด โดยใช้สื่อสารทุกวัน วันละประมาณ 30 นาทีผ่าน สื่ออินเตอร์เน็ตประเภท Facebook และLine การออกแบบสื่อ เนื้อหาต้องเข้าใจง่าย ตัวอักษรต้องชัดเจน การใช้งานต้องไม่มีความยุ่งยาก ภาพกราฟิกสีเข้มบนพื้นหลังสีอ่อน การสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม ที่ควรนำเสนอเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนและผู้สูงอายุ ควรมุ่งเน้นการจัดการในภาพรวม เพื่อคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชน ผ่านการสื่อสารด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่
This research is a quantitative research. The objectives are to study behavior and opinions of the elderly on communication , analyze and propose an appropriate environmental communication pattern for the elderly. Data were collected by using questionnaire with 80 samples. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F – test. The results showed that the respondents were male, aged 60-64 years and older, with educational level of junior high school, married and still lived together, running private business and lived with their spouse as for media usage behavior, it was found that most of them followed information from the internet,mainty used mobile phone to keep track of the news , contact mainly with their offsprings, used communication tool every day for 30 minutes or more, and most of them were interested in Facebook and Line. The opinions towards communication among the elderly found that the overall level was at a high level of agreement. When looking at each item, the majority of the respondents most agreed that communication devices can provide information and entertainment. Regarding comments on appropriate environmental communication for the elderly, the overall opinions were at a very agreeable level. When considering each item, it was found that the majority of the respondents most agreed that communication contributed to the cooperation in solving environmental problems in the community at the highest level, followed by communication through public relation in the community have performed well. Environmental communication suitable for the elderly are mobile phone is the most suitable communication tool for the elderly, using communication every day around 30 minutes a day through Facebook and Line. Media design content must be easy to understand, characters must be clear, the use must be hassle-free, dark colour graphics on a light background. Environmental communication that should be presented for the benefit of the community and the elderly should focus on overall management for the quality of life and good environment of the elderly in the community through modern technology communication.