การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการใช้พื้นที่เพื่อการก่อสร้างอาคารชุด พักอาศัย ในเขตพื้นที่ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
Environmental management for solving the effects of area use for residential condominium construction in Nong Prue Sub-district, Bang Lamung District, Chonburi Province.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อม ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างดังนี้ 1) การสุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 ครัวเรือน โดยการสุ่มตัวอย่าง ผู้พักอาศัยในพื้นที่ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี คัดเลือกครัวเรือนละ 1 คน ใช้การสุ่มแบบโควตาไม่เป็นสัดส่วน และการสุ่มแบบบังเอิญได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบด้วยสถิติ (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว One-way ANOVA) 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะข้อมูลที่รวบรวมมา เพื่อให้ทราบถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่มีผลด้านสิ่งแวดล้อม และแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย ทำการเก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนหรือผู้นำท้องถิ่น จำนวน 10 คน จาก 10 หมู่ ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการ ผู้ดูแลโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน จาก 25 โครงการ โดยเลือกโครงการที่สะดวกและมีความพร้อมในการให้เข้าสัมภาษณ์ จึงได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 20 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อม ผลกระทบ และการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ เช่น ปัญหาด้านฝุ่นละออง ปัญหาด้านเสียงดังรบกวน ปัญหาด้านความสั่นสะเทือน ปัญหาด้านขยะมูลฝอยตกค้าง ปัญหาด้านน้ำเสีย ปัญหาด้านการระบายน้ำ (เช่น ท่อระบายน้ำอุดตัน น้ำท่วม เป็นต้น) ปัญหาด้าน เขม่าและควัน ปัญหาด้านการจราจรติดขัด ปัญหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (เช่น อาชญากรรม ขโมย เป็นต้น) ปัญหาการการบดบังคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ ปัญหาการบดบังแสงแดด และเงาจากอาคารข้างเคียง และปัญหาการบดบังทัศนียภาพเดิม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น การก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย (คอนโดมิเนียม) ดำเนินการก่อสร้างตามข้อกำหนดผังเมืองรวมเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี สภาพพื้นปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินไปจากเดิม การใช้ประโยชน์ที่ดินของตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นที่พักอาศัยเพิ่มมากขึ้น และมีการย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในพื้นที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีสภาพภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงจากเดิม เนื่องจากลักษณะพื้นที่เดิมส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ช่วงเวลาฝนตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขัง หากมีการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยมีการเปลี่ยนแปลงค้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื่องจากส่วนใหญ่มีที่พักอาศัยเดิมอยู่แล้ว ดังนั้นผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางการจัดการและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเจ้าของโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ความรู้กับประชาชนหรือผู้พักอาศัยในชุมชนเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น แนวทางการจัดการด้านจราจร ขยะมูลฝอย เสียงดังรบกวน ฝุ่นละออง การระบายน้ำ การบดบังทัศนียภาพ และการบดบังแสงแดดและทิศทางลม มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัย เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการก่อนมีการสร้างอาคารชุดพักอาศัย (คอนโดมิเนียม) ดังกล่าว
The purposes of the study; 1) Studied about environmental problems and effects, and condominium construction management. 2) Studied about the factors from condominium construction which effected to environment. 3) Suggest the ways to manage environmental problems from condominium construction. By specifying the sample group as follow 1) Randomize 100 households of sample group who live in Nong Prue Sub-District, Bang La Mung District, Chonburi Province. And selected 1 person/each household by using disproportionate stratified random sampling and accidental sampling system including with frequency, percentage, average, standard deviation, t-test hypothesis testing and one-way analysis of variance. 2) Using descriptive research for qualitative research to explain collected information and explain about environmental problems, effects, management, Factors, and suggestion which causing by condominium construction. Collected information by interviewing 10 community leaders from 10 communities which effected from construction project, 10 representatives and involved person from 25 construction projects, total 20 samples. The result shows that most of these environmental problems, effects, and management such as dust pollution, noise pollution, vibration pollution, solid waste, water pollution, drainage problem (such as clogged, flood, etc.), air pollution, traffic, safety issues (crime or stealing), radio and television wave blocking, sunlight blocking, shadow from other building, scenery obscuring or land use change, for example, condominium construction are causing by increasing of immigration and housing construction. Moreover, these reasons effect to the changing of landscape. In conclusion, researcher would like to suggest that construction project owner should inform the people in the community about the effect of environmental problems, for example, the ways to manage traffic problem, solid waste, noise pollution, dust, drainage problem, scenery obscuring and sunlight and wind blocking. Furthermore, should hold a public hearing process to inform about the construction project and expanding the understanding of problems that will be occurred.