Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
ชื่อเรื่อง
ความท้าทายและอุปสรรคต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในการลดก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจ: กรณีศึกษาเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
Title
Challenges and barriers to behavior change in voluntary mitigation actions: Case study of Phayathai, Bangkok
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์พฤติกรรม ปัจจัย ความท้าทายและอุปสรรคต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในการลดก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจ เพื่อเสนอแนะแนวทางเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว โดยใช้การศึกษาทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ประกอบด้วย การทบทวนนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักจากภาครัฐ นักวิชาการ และภาคประชาสังคม จำนวน 10 คน และการใช้แบบสอบถามออนไลน์กับประชาชนที่ใช้ชีวิตประจำวันในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร จำนวน 246 คน ในเดือนเมษายน 2563 และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน อาทิ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ t-test F-test และ correlation จากนั้นนำข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ใช้ SWOT Analysis เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ใช้ TOW Matrix เพื่อกำหนดกลยุทธ์และเสนอแนะแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในการลดก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจ และสุดท้ายได้จัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์เพื่อแสดงความเชื่อมโยงและแนวทางการการขับเคลื่อนกลยุทธ์ ผลการศึกษาพบว่าประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดก๊าซเรือนกระจกโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง มีความตระหนักและสนับสนุนการใช้แรงจูงใจในระดับสูงมาก และสนับสนุน/มีการเข้าถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับปานกลาง ทั้งนี้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจอยู่ในระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่เป็นการประหยัดพลังงานในครัวเรือนและอาคาร เช่น ถอดปลั๊ก/ปิดสวิตช์ และการใช้น้ำประปาอย่างประหยัด พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 คือ เพศ และการรับทราบข้อมูลข่าวสาร และผลการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่าปัจจัยที่เป็นความท้าทายและอุปสรรคสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในการลดก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจ ได้แก่ การขาดการบูรณาการในการกำหนดนโยบายของแต่ละหน่วยงาน การขาดประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โครงสร้างพื้นฐานไม่เอื้ออำนวยต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะส่วนท้องถิ่นยังจำกัด ดังนั้น รัฐบาลจึงควรใช้โอกาสในการจัดทำพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำหนดโครงสร้างการดำเนินงานเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ชัดเจนและบูรณาการ ควรกำหนดให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นตัวชี้วัดร่วมของแผนระหว่างกระทรวง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำกลไกทางเศรษฐศาสตร์มาใช้สร้างแรงจูงใจ สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม รวมถึงมีการรณรงค์โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนและนำไปสู่การปรับกระบวนทัศน์ตามวิถีการพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำอย่างยั่งยืนในประเทศไทย
Abstract
This study aims to analyze behavior, factors, challenges, and barriers to behavior change in voluntary mitigation actions in order to provide related policy and implementation recommendations. Both qualitative and quantitative analysis were conducted, including the review of related policies and plans; interview of 10 key informants from government agencies, academics and civil society; and online questionnaire survey of 246 respondents in Phayathai, Bangkok, in April 2020. The questionnaire results were analyzed by both descriptive and inferential statistics such as mean, percentage, t-test, F-test, and correlation. The content analysis was conducted in the overall result; SWOT Analysis was used to assess strength, weakness, opportunity, and threat; TOW Matrix was then used to identify strategies and provide recommendations on how to promote behavior change in voluntary mitigation actions; and lastly, a strategy map is constructed to provide a clear linkage and roadmap. The result reveals that the respondents have high level of knowledge and perception on climate change and GHG mitigation, very high level of awareness and support on incentives, and moderate level of support/access to enabling environment. The study found that the respondents have moderate level of behavior change in voluntary mitigation action and most of their behavior changes are related to energy efficiency in household and building such as unplug/turn off switch and reduce water consumption. Gender and the receipt of information on climate change are the two factors found to be significantly affecting behavior change (p<0.05). The content analysis reveals that the main challenges and barriers to behavior change in voluntary mitigation actions are the lack of policies integration between related agencies; ineffective translation of policies and plans into concrete implementation; insufficient enabling environment to motivate behavior change; and limited participation of related agencies, particularly local authorities. To overcome these challenges and barriers, the government should use the opportunity that the Climate Change Act is currently under the drafting process to formulating a clear and coherent institutional arrangement on climate change; using behavior change as the joint-indicators of in related plans across agencies, utilizing economic instrument to provide incentives; building enabling environment; collaborating with private sectors and civil society; and using social media to promote behavior change in a continued basis. These actions will help to promote behavior change in voluntary mitigation actions and ultimately accelerate the paradigm shift towards a sustainable low-GHG development in Thailand.