Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
ชื่อเรื่อง
การจัดเตรียมร่างแผนที่ป่าอนุรักษ์และการศึกษาความเป็นไปได้ ในการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฮอด จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง การจัดเตรียมร่างแผนที่ป่าอนุรักษ์และการศึกษาความเป็นไปได้ในการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฮอด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ในการจัดเตรียมร่างแผนที่ป่าอนุรักษ์เพื่อประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฮอด ศึกษาความเป็นไปได้ของการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฮอด และเสนอแนะแนวทางในการเตรียมประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่า วิธีการศึกษาแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นการจัดเตรียมร่างแผนที่ป่าอนุรักษ์ เพื่อประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการสำรวจ ตรวจสอบและสอบทานร่างแผนที่ฯ โดยกำหนดที่หมายสำคัญจำนวน 203 จุด ส่วนที่สองเป็นการศึกษาความเป็นได้ของการประกาศเขตพื้นที่ห้ามล่าสัตว์ป่าฯ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ หัวหน้าหน่วยควบคุมพื้นที่เตรียมการประกาศฯ ผลการศึกษาพบว่า การสำรวจภาคสนามในการตรวจสอบ สอบทานฯ สามารถจำแนกที่หมายสำคัญ ได้ดังนี้ 1) จำแนกตามเขตการปกครอง 9 ลักษณะที่หมายสำคัญ ปรากฏอยู่ใน 7 ตำบล 4อำเภอ 2 จังหวัดคือจังหวัดเชียงใหม่และตาก 2) จำแนกตามลักษณะที่หมายสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่เป็นจุดตัดถนนมากที่สุด 96 จุด ในจังหวัดตากเป็นจุดตัดถนน 1 จุด 3) จำแนกตามค่าความถูกต้องตามตำแหน่ง (Accuracy) มากที่สุด 6 เมตร น้อยที่สุด 1 เมตร 4) จำแนกตามจำนวนการเปลี่ยนแปลงที่หมายสำคัญ 2 จุด (โรงเรียนร้าง) 5) จำแนกตามระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง(MSL) มากที่สุด 63 จุดคือระดับ 200-299 เมตร น้อยที่สุด 2 จุดคือระดับ 400-499 เมตร จากข้อมูลดังกล่าวจัดได้ว่ามีความละเอียดถูกต้องครอบคลุมพื้นที่ศึกษาและเป็นปัจจุบันสามารถนำไปใช้ในการจัดเตรียมร่างแผนที่ป่าอนุรักษ์และมีความเป็นไปได้ในการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฮอดต่อไป สำหรับความเป็นไปได้ของการประกาศเขตห้ามล่าฯ ยังขึ้นอยู่กับประเด็นเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของคนในพื้นที่ที่อาจขัดแย้งกับพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 นำมาซึ่งความขัดแย้งในพื้นที่ก่อนการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ได้แก่ การบุกรุกทำลายป่า การเป็นเส้นทางผ่านของกลุ่มการค้าที่ผิดกฎหมาย และการประสานความร่วมมือในพื้นที่ ความท้าทายของการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าจึงมีอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ ความท้าทายด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ความท้าทายด้านการประสานความร่วมมือในการปฏิบัติงาน และความท้าทายด้านการขาดแคลนทรัพยากรที่สนับสนุนการปฏิบัติงานให้เกิดความต่อเนื่อง ดังนั้น แนวทางการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฮอดนั้นจำต้องอาศัยความร่วมมือจากองค์การที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาระดับชาติ ได้แก่ ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) และการจัดตั้งหน่วยควบคุมพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ โดยการจ้างประชาชนในพื้นที่ให้ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน นอกจากนี้ ควรมีการปรับปรุงข้อมูลแผนที่ทุก 5 ปี และกำหนดจุดหมายสำคัญควรให้ครอบคลุมพื้นที่ศึกษาให้มากที่สุด เพื่อลดความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจริงเนื่องจากพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
คำสำคัญ
การอนุรักษ์, ทรัพยากรสัตว์ป่า, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า