ความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงพุทธวัดจุฬามณี อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
Sustainability of Buddhist Tourism at Chulamanee Temple Amphawa Samutsongkhram
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของการท่องเที่ยวเชิงพุทธและแนวทางการจัดการหรือบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน 2) ศึกษาการพึ่งพาทรัพยากรด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ 3) ประเมินความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงพุทธในแต่ละกิจกรรม 4) เสนอแนะแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธวัดจุฬามณี เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเกิดจากปัญหาขยะและมลพิษ เนื่องจากมีการใช้บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆที่ย่อยสลายและกำจัดยาก มีการใช้พลังงานเชื่อเพลิงในการเดินทางท่องเที่ยวทำให้เกิดมลภาวะ ทางด้านเศรษฐกิจทำให้วัดมีและชุมชนมีรายได้ สังคมในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ แต่ในกิจกรรมการท่องเที่ยวชมธรรมชาติต้องพึ่งพาธรรมชาติและคุกคามระบบนิเวศในพื้นที่เกิดความเสื่อมโทรมไม่เกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรเน้นไปที่การจัดการกิจกรรมที่สามารถควบคุมได้จากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ สร้างความยั่งยืนในวัดและชุมชนของตนเองให้เข้มแข็งพึ่งพาตนเองด้านศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่มี ส่วนปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ภาครัฐและผู้นำควรเข้ามาให้การสนับสนุนเงินทุน หรือส่งเสริมนวัตกรรม เพื่อให้พื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
The objectives of this study were 1) to study the economic, social and environmental impacts. of Buddhist tourism and approaches to manage or mitigate the current impacts; 2) a study of the dependence on economic resources; society and environment and local stakeholders 3) Assess the sustainability of Buddhist tourism in each activity 4) Recommend guidelines for the management of Buddhist tourism at Chulamani Temple to create sustainability Data was collected by interviewing key informants. and participatory observation , the results showed that the environmental impact is caused by waste and pollution problems. due to the use of different packaging that are difficult to decompose and dispose of The use of fuel for travel causes pollution. Economically, the temple has and the community has income. Society in the area has a better quality of life resulting in economic sustainability. But in nature tourism activities must rely on nature and threaten the ecosystem in the area to deteriorate environmental sustainability. This study suggested that the focus should be on managing activities that can be controlled by local stakeholders. Build sustainability in their own temples and communities to be strong and self-reliant on the potential of natural resources, culture and wisdom. As for external factors that cannot be controlled, governments and leaders should step in to provide funding. or promote innovation To make the area a tourist attraction that benefits the economy, society and environment.