ปัจจัยการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกรเพื่อลดการเผา กรณีศึกษา อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
Factors for agricultural waste management of farmers to reduce burning: a case study of Ban Phai District, Khon Kaen Province
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการ และการส่งเสริมเกษตรกรเพื่อลดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยการใช้การศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประกอบด้วย การใช้แบบสอบถามกับเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 387 คน ในเดือนมิถุนายน 2565 นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน อาทิ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ทดสอบสมมติฐานของความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม ด้วยการทดสอบค่า t-test, โดยใช้สถิติ Independent Sample: t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 0.05 จากนั้นนำข้อมูลที่มีนัยสำคัญทางสถิติมายืนยันด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) ตัวแทนเกษตรกร และสัมภาษณ์เชิงลึก (In – dept Interview) บุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง เพื่อสอบถามการจัดการวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่ รวมถึงข้อเสนอแนะ และแนวทางการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร หาข้อสรุปที่ชัดเจนและถูกต้องนำไปกำหนดแนวทางการในการบริหารจัดการเพื่อลดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษาพบว่าประชากรกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบรวมถึงอันตรายจากการเผา และประโยชน์ของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในระดับสูง มีทัศนคติต่อการเผาในที่โล่งและการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในระดับปานกลาง และได้รับการสนับสนุนจากภายนอก ผ่านกิจกรรมดำเนินงานโดยภาครัฐ ธุรกิจเอกชน และผู้เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรลดการเผา ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาในระดับน้อย ทั้งนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นว่ากฎหมายห้ามเผาไม่สามารถนำมาใช้กับพื้นที่ได้ และยังพบการตรวจ/จับปรับ ผู้เผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในระดับน้อย และปัจจัยปัจจัยการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกรเพื่อลดการเผาในกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ ลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกรรมแตกต่างกัน รวมถึงความรู้เกี่ยวกับผลกระทบรวมถึงอันตรายจากการเผา และประโยชน์ของเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และปัจจัยสนับสนุนจากภายนอก ผ่านกิจกรรมดำเนินงานโดยภาครัฐ ธุรกิจเอกชน และผู้เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรลดการเผา ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา โดยแนวทางในการบริหารจัดการ และการส่งเสริมเกษตรกรเพื่อลดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น คือ เกษตรกรควรเข้ารับการฝึกอบรมให้มากขึ้นและต่อเนื่อง เพื่อได้รับความรู้และสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยภาครัฐควรส่งเสริมด้านองค์ความรู้ และให้การอุดหนุน หรือสนับสนุน ช่วยเหลือด้านแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพอย่างพอเพียง และท้องถิ่นต้องจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อควบคุมการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยมีการดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อร่วมกันยกร่างข้อบังคับที่เกิดขึ้นจากความสมัครใจของประชาชนในชุมชน เปิดโอกาสให้มีการจัดการปัญหาที่สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่อย่างยั่งยืน
In this Study, the research objective is to analyze important factors resulting in by-product management of farmers in Ban Phai District, Khon Kaen Province, Thailand. Moreover, other purpose is to put forward a plan to manage and develop farmers in order to reduce burning such remnant. Both Quantitative and Qualitative research methods are applied in this study. First process is filling the questionnaire by 387 focussed farmers in June, 2022. After that, primary collected data is used to analyze by descriptive and inferential statistical methods, such as, average, percentage. Hypothesis testing by T-test tool is applied to find the difference between independent and dependent variable. In this case, independent sample: T-test is set to 0.05 for significant level. Then, statistically significant data would be confirmed by interviewing focused group, farmer representatives. Besides, there is the process to in-depth interview for three of interested person groups. The interviewing issues consist of the management of by-product, the suggestion and plan to resolve the agricultural waste, and finding the clear and proper conclusion. These bring about the regulating of management plan in order to reduce burning such waste in the survey area. From the research study, the focused group has basic knowledge and understanding in the effect and risk of waste burning and the advantage of agricultural by-product with the high level. However, the attitude of surveyed group for burning waste in the open area and utilizing the agricultural waste is at medium level. Furthermore, during the past year, external support factors in operational activities by the government, private and other sectors are at low level. The focused group also comments that the related law cannot apply to this area because the burner such waste was detected and arrested in a few case. In addition, there are several factors that result in the reduction of agricultural waste burning in sample group at 0.05 significant level. Primarily, the difference between amateur and career farmers bring about the difference of knowledge and understanding in the effect and hazard of waste burning including the benefit of such by-product. Also, during the past year, external support factors in operational activities by the government, private and other sectors are less. Therefore, the suggestion to manage and promote farmers to lower burning agricultural waste in this area is that famers should have more continuous training to valued-added waste product. Moreover, the government sector should support knowledge and subsidize financial aid for famers. Besides, the local government administration should enact the local law to control burning of agricultural waste by setting up a local committee to coordinate with, according to public participation. Such problem solving will lead to sustainable development in the area.