มาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกในระดับผู้บริโภค
Economic measures to reduce the use of plastic bags at the consumer level.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษามาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกในระดับผู้บริโภคของประเทศไทย แนวคิดและหลักการที่นำมาประยุกต์ใช้ในการกำหนดมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกในระดับผู้บริโภค ทั้งนี้ จะนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ของประเทศไอร์แลนด์เหนือมาใช้เป็นแบบอย่าง โดยการศึกษาวิจัยนี้จะใช้วิธีการวิจัยเอกสารเป็นหลัก จากข้อมูลปฐมภูมิ เช่น นโยบายและแผน ตัวบทกฎหมาย และข้อมูลทุติยภูมิ เช่น หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ เอกสารที่เผยแพร่อย่างเป็นทางการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากเว็บไซต์ของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือของไทยและต่างประเทศ ผลจากการศึกษา พบว่า หลักการและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกในระดับผู้บริโภค คือ หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักการระวังไว้ก่อน หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย และหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งหลักการเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นฐานในการสร้างนโยบายและแผนระดับชาติของไทยเกี่ยวกับการลดการใช้ถุงพลาสติก อย่างไรก็ดี พบว่า ประเทศไทยยังไม่มีการบังคับใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกในระดับผู้บริโภคที่ชัดเจน หากแต่เป็นเพียงลดการใช้ถุงพลาสติกแบบสมัครใจเท่านั้น โดยเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้ถุงพลาสติก และไม่มีระบบการจัดเก็บข้อมูลการใช้ถุงพลาสติกของผู้บริโภคจากทุกแหล่งกำเนิด ส่งผลให้ไม่มีข้อมูลจำนวนถุงพลาสติกที่สามารถลดจากการดำเนินมาตรการ ซึ่งเมื่อเทียบกับมาตรการของประเทศไอร์แลนด์เหนือ พบว่า บังคับใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมถุงใส่สินค้าในอัตราที่กฎหมายกำหนด ทำให้ผู้บริโภคใช้ถุงพลาสติกลดลง อีกทั้งรัฐบาลยังมีรายได้นำไปสนับสนุนโครงการหรือกองทุนด้านสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาจึงมีข้อเสนอว่า ประเทศไทยควรมีการบังคับใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกในระดับผู้บริโภคอย่างจริงจัง โดยการจัดทำเป็นมาตรการกฎหมาย ซึ่งต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นในทุกขั้นตอน อีกทั้งอาจนำรูปแบบของมาตรการของไอร์แลนด์เหนือ มาประยุกต์ใช้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดให้ผู้จำหน่ายถุงพลาสติกมีหน้าที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกและจัดส่งให้แก่รัฐ จัดเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นถุงใบใหม่ที่ยังไม่ได้ใช้งานหรือเป็นถุงที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ทำจากวัสดุที่เป็นพลาสติกทั้งหมดหรือบางส่วนและทุกขนาดความหนา แต่ควรจะมีการยกเว้นถุงพลาสติกบางประเภท อัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมควรให้สูงกว่าค่าความยินดีที่จะจ่าย แต่ไม่ควรสูงเกินไปจนผู้บริโภคไม่สามารถรับภาระได้ และนำเงินที่ได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมไปใช้ เพื่อการดูแลฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมที่มีสาเหตุมาจากปัญหาถุงพลาสติก หรือสนับสนุนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการขยะถุงพลาสติก ซึ่งจะเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและยังสอดคล้องกับแนวคิดและหลักการที่กล่าวไปข้างต้นด้วย
This independent study has an objective to study economic measures to reduce the use of plastic bags at Thailand consumer level. The concepts and principles that have been applied to this study of economic measures that reduce the use of plastic bags at the consumer level will be retrieved from the measures of single carrier charges of Northern Ireland as a role model. By this research study will mainly use the document research method from primary data such as legal policies and plans. Also, the secondary data for instance books, textbooks, academic articles, official documents of public and private agencies as well as electronic information from websites of reputable agencies in Thailand and abroad as well. The results show that the principles and concepts related to economic measures to reduce the use of plastic bags at the consumer level are Sustainable development principles , Precautionary principle, Polluter Pays Principle: PPP and Public participation which all these principles have been used as a basis for establishing national policies and plans for Thailand to reduce the use of plastic bags. Nevertheless, Thailand still does not have any specific enforcement or implemented an exact way of economic measures to reduce the use of plastic bags at the consumer level. But merely apply by reducing the use of plastic bags voluntarily which is a collaboration between the government and private sectors as well as campaigning for the public to reduce the use of plastic bags. Moreover, the fact that there is no system to store consumer plastic bag usage data from all original sources. As a result, there is no data on the number of plastic bags that can be reduced from the measures implementation. If compared unclear Thai measures to concrete Northern Ireland economic measures found that the Northern Ireland enforcement of having a collecting fee charges on the plastics bag at the rate specified by law causing consumers to use less plastic bags. In addition, the government also has income from the fee to support environmental projects and funds. From the study, has brought the suggestion that Thailand should take an enforcement on economic measures to reduce the use of plastic bag at consumer level seriously. By making legal measures which allow people the opportunity to participate in expressing opinions at every step. Moreover, Thailand can also take the form of measures from Northern Ireland to be applied in a rollout. Especially the part of requiring plastic bag suppliers to collect fees for plastic bags and deliver fees to the government. Collect fees for all types of plastic bags, whether new bags that are not in use or those that are recycled, whether made of plastic material in whole or in part and in all thickness level. But also, should exclude certain types of plastic bags. The fee collection rate should be higher than the fee that people be pleased to pay but should not be too high that the consumer can not bear the burden. And use the collected fee from the process to be expensed on taking care and revitalizing the degraded natural resources caused by plastic bag problems. Or support operations involved in the plastic bag waste management. The suggestion of the ways to use collecting fee will be in accordance with the spirit of the law and also aligned with the concept and principles that been mentioned above.