การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่แห้งแล้งในพื้นที่อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
Application of Geographic Information System to analysis of drought areas in Nong Ya Sai district Suphanburi Province
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดความแห้งแล้ง วิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดความแห้งแล้ง โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 6 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี ประเภทของดิน การระบายน้ำของดิน ระยะห่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่เป็นผู้ให้ค่าคะแนนความสำคัญของปัจจัย (Weighting) และค่าคะแนนของตัวแปร (Rating) เพื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการรวมแบบถ่วงน้ำหนักอย่างง่าย (Simple Additive Weighting: SAW) และคำนวณหาความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งโดยการซ้อนทับข้อมูล (Map Overlay) ประกอบกับวิเคราะห์การบริหารจัดการความแห้งแล้งในพื้นที่จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ จากการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งสูง ครอบคลุมพื้นที่ 42.45 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 10.16 ของพื้นที่ศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลแจงงาม ในส่วนพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งต่ำครอบคลุมพื้นที่ 72.83 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 17.44 ของพื้นที่ศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลหนองขาม จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความแห้งแล้งมากที่สุดคือปัจจัยประเภทของดิน และการระบายน้ำของดิน และจากข้อมูลการสัมภาษณ์ร่วมกับการวิเคราะห์ผลการศึกษา ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อำเภอหนองหญ้าไซ ด้วยวิธีการกระจายน้ำในพื้นที่อย่างเหมาะสม และอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เกษตรกร หน่วยงานของรัฐร่วมกันในการบริหารจัดการน้ำร่วมกันอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
The purposes of this study were study of drought factors, analysis of drought-prone area and guidelines for lessen drought in Nong Ya Sai District, Suphanburi Province. The physical factors include 6 factors including annual average rainfall, soil type, soil drainage, distance from natural water resources and land use by rating the importance of the factor (Weighting) and the variable's score (Rating). The weight and rate were applied for risk of drought calculation by Simple Additive Weighting (SAW) method and by overlaying geographic information (Map overlay). At the end, the interviews were conducted to obtain better deep understanding of drought management in the area from different stakeholders. The study stated that areas at high risk of drought and low drought risk cover 42.45 square kilometers of Chaeng Ngam subdistrict and 72.83 square kilometers of Nong Kham subdistrict, accounting for 10.16% and 17.44% of the study area. The analysis found that soil type and soil drainage are most related to drought in the area. From interviews, it is also found that the proper water distribution to different area and participation of locals together with governmental organizations will lead to sustainable and equitable water management.