การรับรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยเลิศ
Understanding of water management in an irrigated area at the universityThe reservoir at Huai lert.
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาการรับรู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำในภาคเกษตรกรรมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำ กลุ่มจัดสรรน้ำของภาครัฐ กลุ่มรัฐท้องถิ่นและพัฒนาส่งเสริมการเกษตร และกลุ่มผู้ใช้น้ำ ๒) เพื่ออธิบายความแตกต่างของการรับรู้ระหว่างหลายภาคส่วน ๓) เสนอแนะแนวทางการสร้างความเข้าใจร่วมกันในการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาแบบสัมภาษณ์ และการสังเกต ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้เกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงน้ำ พบความแตกต่างของการรับรู้ ขึ้นอยู่ปัจจัยผู้รับในด้านประสบการณ์ เนื่องจากการรับรู้ของบุคคลเกิดขึ้นโดยอาศัยความรู้เดิมหรือประสบการณ์ที่สะสมในสมองเป็นเครื่องช่วยในการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้ การรับรู้เกี่ยวกับการจัดสรรน้ำและการบริหารจัดการน้ำ พบความแตกต่างของการรับรู้ขึ้นอยู่ปัจจัยในด้านประสบการณ์ เนื่องจากการรับรู้ของบุคคลเกิดขึ้นโดยอาศัยความรู้เดิมหรือประสบการณ์ที่สะสมในสมองเป็นเครื่องช่วยในการแปลความหมายของสิ่งที่รับรู้ การรับรู้เกี่ยวกับการปรับตัวต่อความไม่แน่นอนจากน้ำ พบความแตกต่างของการรับรู้ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความสนใจ ความใส่ใจ และการเลือกที่จะรับรู้สิ่งเร้า สภาพแวดล้อมของมนุษย์มีสิ่งเร้าอยู่มากมาย ซึ่งสามารถกระตุ้นกระบวนการรับสัมผัสและการรับรู้ให้เกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา แต่บุคคลจะเลือกรับรู้สิ่งเร้าเฉพาะที่ตนมีความสนใจหรือให้ความใส่ใจก่อนเป็นอย่างแรก การรับรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ พบความแตกต่างทั้งสามกลุ่มมีความเห็นเดียวกันในมุมมองความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำจะมีมาก เนื่องจากสถานณ์ภาวะโลกร้อน และมีการขยายตัวของเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมส่งผลต่อความต้องการน้ำที่เพิ่มมากขึ้น ความแตกต่างของการรับรู้เกิดจากประสบการณ์เกี่ยวกับผลกระทบการขาดแคลนน้ำที่ผ่านมา
The study’s goal was to learn how to manage water in all sectors of agriculture. To explain differences in understanding between all the sections and proposed an effort to learn about management sector participation. This qualitative study examined data from interviews and observations. As a result of the research findings, there is a difference in understanding of the right to use water, water allocation and management, and water orientation with uncertainty. This individual perception is influenced by experience and the environment. As all three groups have the same viewpoint, they are assessing the perceived risk of water scarcity due to climate change and the expansion of the urban community as the causes of increased water use.